คู่มือโพสเดียเวล เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดวิกฤติไตวาย

โภชนบำบัด กับ โรคไตเรื้อรัง

(Nutrition For Dialysis Patients)

อาหารที่เหมาะกับผู้ที่ผ่านการฟอกด้วยเครื่องฟอกไตเทียม ควรมีโปรตีนปานกลาง

เกลือแร่ต่ำ ใยอาหาร และแคลเซียมจากธรรมชาติสูง

ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาว 12 เซนติเมตร หนัก 120-150 กรัม อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ไตมีความสำคัญต่อร่างกายมาก โดยมีหน้าที่ดังนี้

  1. ขับถ่ายของเสีย สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
  2. ดูดซึมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคืนเข้าสู่กระแสเลือด
  3. รักษาความเป็นกรด ด่าง เกลือแร่ และน้ำ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล
  4. ไตสร้างสารอีรีโธโปอีติน (erythropoietin) ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
  5. ไตช่วยเปลี่ยนวิตามินดีให้มีประสิทธิภาพในร่างกาย

ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เมื่อไตเสื่อมประสิทธิภาพลงจนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป ก็จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนการทำงานของไตด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียม (Hemodialysis) หรือการล้างไตในช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) ซึ่งจะลดการคั่งของของเสียและน้ำ ช่วยให้ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ในการรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดและล้างไต จะมีการสูญเสียสารอาหารโปรตีน วิตามิน เกลือแร่หลายชนิดไปในการฟอกเลือดและล้างไต เป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้ป่วยเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน หากรุนแรงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต จึงต้องเรียนรู้วิธีการเลือกอาหารรับประทานให้เหมาะสม เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

การล้างไตคือ การทำหน้าที่แทนไตในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย และพยายามที่จะรักษาสมดุลของกรดด่าง เกลือแร่ และน้ำ ในร่างกายได้ ผู้ป่วยไตวายเมื่อได้รับการรักษาโดยการล้างไตแล้วมักเข้าใจผิดคิดว่าสามารถกินอาหารได้ทุกอย่างตามสบายไม่ต้องควบคุมอาหาร เพราะคิดว่ามีเครื่องมือมาช่วยในการขจัดของเสียในร่างกาย แต่ในความเป็นจริงการล้างไตไม่ว่าจะวิธีใดก็ตามไม่สามารถทดแทนการทำงานของไตได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์  โดยปกติไตจะทำงานตลอดทั้งวันไม่เคยหยุดเฉลี่ยสัปดาห์ละ 168 ชั่วโมง การล้างไตสามารถทำได้ 2 แบบ คือ

  1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ขจัดของเสียจากเลือดแทนไตผู้ป่วยทำงานได้เพียง 8-12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์   หรือประมาณเท่ากับ 6-7 เปอร์เซ็นต์  ของชั่วโมงการทำงานของไตปกติ เหลือประมาณกว่า 150 ชั่วโมงเป็นช่วงเวลาที่ของเสียยังค้างสะสมในร่างกาย
  2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) ซึ่งทำเองได้ที่บ้านทุกวันมีประสิทธิภาพในการกำจัดของเสีย 10-20 เปอร์เซ็นต์ของไตปกติเท่านั้น

*ภายหลังการล้างช่องท้องหรือการฟอกเลือดแล้ว ยังมีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกายอีกมากมาย ผู้ป่วยไตวายที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องล้างไตเทียม หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง จะมีการสูญเสียสารอาหารต่าง ๆ ไปพร้อมกับของเสียที่ถูกกำจัดออกด้วย โดยเฉพาะการสูญเสียโปรตีน และ กรดอะมิโนจำเป็นกับร่างกาย ดังนั้นจึงต้องดูแลการรับประทานอาหาร น้ำ และเกลือแร่อย่างเหมาะสมด้วย

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดและล้างไตทางช่องท้อง)

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนาน ๆ อาจเกิดอาการเครียด ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ เพราะผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง และมีอาการบวม เนื่องจากการคั่งของของเสียในร่างกายมากขึ้น ฉะนั้น น้ำหนักตัวของผู้ป่วยในระยะนี้จะมากขึ้น ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักไม่คงที่ ดังนั้นการคำนวณหาน้ำหนักตัวที่แท้จริงของผู้ป่วย โดยวิธีง่าย ๆ คือ 

ผู้ชาย   = ความสูงเซนติเมตร – 100 X 0.9         ผู้หญิง  = ความสูงเซนติเมตร – 100 X 0.8
สมมติ  ผู้หญิง มีความสูง 155 เซนติเมตร น้ำหนักตัวมาตรฐาน ควรเป็น 155-100 X 0.8 = 44 กิโลกรัม

การกำหนดพลังงาน (Calories requirement/day)

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแนะนำให้ได้พลังงานประมาณ  35 – 40 กิโลแคลอรี่ ต่อ น้ำหนักตัวมาตรฐาน 1 กิโลกรัมต่อวัน  ฉะนั้นผู้ป่วยควรได้พลังงาน = 44 X 35 = 1,540 กิโลแคลอรี่ / วัน แต่ถ้าต้องการพลังงานมากกว่านี้ก็คูณน้ำหนักตัวด้วย 40 กิโลแคลอรี่ ได้เช่นกัน

การกำหนดปริมาณและชนิดอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับเพื่อการรักษาและยืดอายุ

  1. รับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอทุกมื้อ อย่าปล่อยให้หิว โดยเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  2. รับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ไม่ต้องจำกัดเหมือนก่อนการฟอกเลือดซึ่งจำเป็นในการเสริมสร้างร่างกายและภูมิคุ้มกันโรคและยังต้องชดเชยส่วนที่สูญเสียไปในการฟอกเลือดในแต่ละครั้งอีกด้วย การฟอกเลือดด้วยไตเทียมจะทำสัปดาห์ละ  2-3 ครั้ง ครั้งละ 4-6 ชั่วโมง จึงควรเลือกรับประทานโปรตีนให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  3. งดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เนื่องจากไตไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้จึงเกิดการคั่งค้างในเลือด

อาหารที่มีฟอสเฟตมาก (High Phosphate Food) ได้แก่

3.1 อาหารจากธรรมชาติ (Natural Foods)

  • นมทุกรูปแบบ เช่น นมจืด นมหวาน นมเปรี้ยว
  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ไอศกรีม เนยแข็ง (มีรสเค็มโดยใช้โซเดียมมากด้วย)
  • ไข่แดงของไข่ไก่และไข่เป็ด
  • ถั่วและเมล็ดพืชแห้ง เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดฟักทอง
  • ผลิตผลจากถั่ว เช่น ถั่วอบแห้ง ถั่วคั่ว ถั่วกวน ถั่วตัด และงาตัด ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ทุกชนิด
  • ลูกนัท เช่น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์

3.2   อาหารแปรรูป (Processed Foods)

  • อาหารที่มีผงฟูเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุกกี้ แป้งซาลาเปา (ชนิดที่ใช้ผงฟูแทนยีสต์)
  • อาหารที่มียีสต์เป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง หม่านโถว
  • อาหารทะเลแช่แข็ง (ผู้ผลิตอาหารชุบน้ำยาที่มีสารประกอบ ฟอสเฟต ช่วยให้เนื้ออุ้มน้ำและเพิ่มน้ำหนักเนื้อ) และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น (เพื่อให้เนื้อมีลักษณะหยุ่น ๆ)
  • เครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำอัดลม โดยเฉพาะพวกโคล่า (ใช้ฟอสเฟตเป็นสารกันบูด)
  • อาหารเบ็ดเตล็ด (ใส่ฟอสเฟตเพื่อไม่ให้จับตัวกันเป็นก้อน)

4. งดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลและกรดยูริคสูง(High cholesterol and uric foods)

  • จำกัดไขมันในอาหาร(Fat)  โดยงดอาหารทอดอมน้ำมัน อาหารผัดใส่น้ำมันมาก งดไข่แดง ไข่ปลา ตับไต ปลาหมึก ปู กุ้ง หอย โดยเฉพาะหอยนางรม งดอาหารพวกพัพ พาย เค้ก คุกกี้ ที่ใส่เนยหรือเนยเทียม เนยขาว
  • พิวรีน (Purine) ในอาหารทำให้เกิดกรดยูริคในร่างกาย หากผู้ป่วยมีกรดยูริคในเลือดสูง ( > 7 มิลลิกรัม / เดซิลิตร) ต้องงดอาหารที่มี purine มากและกินอาหาร ไขมันต่ำ ไปพร้อม ๆ กัน  เพราะอาหารที่มีไขมันสูงทำ ให้กรดยูริคขับถ่ายไม่ดี

แหล่งอาหารที่มี purine มากและควรงด ได้แก่ ตับ ไต ตับอ่อน ปีกสัตว์ ปลาซาร์ดีน ปลากะตัก ปลาเค็ม กะปิ น้ำต้มเนื้อ น้ำสกัดจากเนื้อสัตว์ ซุปใส ฯลฯ ยอดผักอ่อน ๆ เช่น ยอดตำลึง ยอดผักแม้ว หน่อไม้ฝรั่ง หน่อไม้ไทย ใบขี้เหล็ก

5. งดอาหารโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม ปูเค็ม ผลไม้และผักแปรรูป หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรสเค็ม ผงชูรส ขนมที่ใส่ผงฟู น้ำจิ้มสำเร็จรูปต่าง ๆ บะหมี่สำเร็จรูปอบแห้ง

6. จำกัดอาหารที่มีโพแตสเซียมสูง เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแตสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่ สับปะรด แตงโม ลูกท้อ หอมหัวใหญ่ เห็ดหูหนู บวบเหลี่ยม ถั่วพู ถั่วพุ่ม

  • หลีกเลี่ยงผักที่มีโพแตสเซียมสูง ได้แก่ เห็ดกระดุม เห็ดโคน ผักชีทุกชนิด ผักโขม ชะอม หัวปลี กระเทียม ใบขี้เหล็ก ใบชะพลู ผักกระโดน ผักกระถิน เห็ดเป๋าอื้อ กะหล่ำ คะน้า ใบและดอกกุยช่าย ถั่วฝักยาว ผักกระเฉด ผักกาดหอม ผักบุ้ง
  • งดผลไม้ที่มีโพแตสเซียมสูง ได้แก่ ทุเรียนทุกชนิด ขนุน แห้ว กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก น้อยหน่า ส้มเขียวหวาน มะม่วง ละมุด ลิ้นจี่

7. เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน เพราะมีกรดไขมันจำเป็นอยู่มากทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9 ที่สำคัญมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อย

8. งดอาหารที่ทำจากมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว งดไขมันจากสัตว์ และอาหารอบที่มีเนยมาก เช่น เค้ก พาย เพสตรี้ เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูงมาก

9. จำกัดน้ำและเครื่องดื่ม ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยไตเทียม และล้างไตทางช่องท้อง มักมีอาการบวมบ่อย เนื่องจากมีน้ำคั่งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้น้ำท่วมปอดเกิดอันตรายได้ และควรเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดซึ่งจะทำให้กระหายน้ำ และจะดื่มน้ำมากขึ้น

10. ถ้าไม่เป็นเบาหวาน  เสริมอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง โดยเน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น แป้งถั่วเขียว (ทำวุ้นเส้น) แป้งมันสำปะหลัง ข้าวสาลีชนิด whole grain (ไม่ขัดขาว) และควรงดหรือเลี่ยงน้ำตาลเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

11. ใช้เครื่องเทศ สมุนไพรในการช่วยชูรสอาหาร

12. ไม่ใช้เกลือเทียม เพราะในเกลือเทียมจะมีโพแตสเซียมเป็นส่วนประกอบ

13. รับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอ

ในกรณีที่ได้รับสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีนไม่พอ แพทย์อาจให้ กรดอะมิโนทางหลอดเลือดดำเสริมในระหว่างที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

หลักเกณฑ์ในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วย โรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

โปรตีน(Protein): ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตนี้ต้องการสารอาหารโปรตีนสูงกว่าธรรมดา (คนปกติควรได้รับโปรตีนวันละ 0.8-1.0 กรัม ต่อน้ำหนักตัวมาตรฐานหนึ่งกิโลกรัม) ประมาณ 1.2 – 1.3 กรัม ต่อน้ำหนักมาตรฐาน หนึ่งกิโลกรัม ต่อ วัน  ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยหนัก 44 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนประมาณ 1.2 X 44 = 52.8 = 53 กรัม ต่อ วัน ในปริมาณโปรตีน 53 กรัมนี้ ควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง สามารถดูดซึมและย่อยง่าย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยมีกรดอะมิโนครบถ้วนทั้ง 18 ชนิด ถ้าผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนได้รับโปรตีนในแต่ละมื้อไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานงานไม่เพียงพอ ขาดสารอาหารโปรตีน ภูมิต้านทานโรคต่ำ สุขภาพทรุดโทรม แต่ถ้ารับประทานโปรตีนมากเกินไปก็ยังคงมีของเสียคั่งในเลือดมาก เนื่องจากการบำบัดทดแทนไต สามารถเอาของเสียออกได้เพียง 10% ของไตธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่แนะนำ

คาร์โบไฮเดรต(Carbohydrate):น้ำยาที่ผู้ป่วยใช้ล้างไต จะมีส่วนผสมของน้ำตาล ซึ่งเป็นสารอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ที่จะให้พลังงานแก่ผู้ป่วยได้เช่นกัน ประกอบกับผู้ป่วยมีอาการเบาหวานรวมอยู่แล้ว อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ฉะนั้น คาร์โบไฮเดรตจากการกินอาหาร ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดเชิงซ้อน เช่น ข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าวแป้ง ควรเป็นชนิดซ้อมมือ และผักซึ่งจะมีใยอาหารมากพอที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่ให้สูงมากรวมทั้งลดการกินอาหารที่มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบให้น้อยลง และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่สำคัญผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายนำสารโปรตีนมาใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน ซึ่งจะทำให้โปรตีนที่ได้รับไม่สามารถใช้ไปในการเสริมสร้างร่างกายเกิดภาวะขาดโปรตีนและพลังงานได้

ไขมัน(FAT): ผู้ป่วยอาจมีภาวะไขมันในเลือดสูงได้คือ มีโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ ฉะนั้นนักโภชนาการจะแนะนำให้ใช้น้ำมันจากพืชในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว  ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งจะช่วยลดไขมัน  (โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์) ในเลือดได้ มีผู้ป่วยหลายคนนิยมน้ำมันปลาในทะเลจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีกรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกายในปริมาณมากพอสมควร    กรดไขมัน  ในปลาจะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ รวมทั้งลดการอักเสบของไต และยังพบว่าน้ำมันปลายังลดปริมาณของไข่ขาวในปัสสาวะของผู้ป่วย และมีแนวโน้มที่จะชะลอการเกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายลงได้

โซเดียม(sodium):ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตมักมีปัสสาวะน้อย เมื่อฟอกเลือด หรือล้างไตนานเข้าอาจไม่มีปัสสาวะจึงอาจมีสารโซเดียมและ น้ำคั่งในร่างกาย เกิดอาการบวมน้ำ ความดันโลหิตสูงขึ้น ถ้าบวมมาก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยจึงควรจำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก อาหารที่มีโซเดียมมากมักมีเกลือมากและมีรสเค็มจัด เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารเค็มจัด ก็จะหิวน้ำ ดื่มน้ำมาก เมื่อขับถ่ายโซเดียมได้น้อย ก็จะมีการกักเก็บน้ำไว้ตามเนื้อเยื่อ ทำให้บวม น้ำท่วมปอด ความดันโลหิตสูงขึ้น การกินอาหารของผู้ป่วยควรกินอาหารที่ปรุงมาจากครัวที่เติมน้ำปลา ซีอิ้ว ได้เล็กน้อย และไม่ควรเติมเครื่องปรุงรสใด ๆ ที่โต๊ะอาหารเพิ่มอีก และในอาหารธรรมชาติที่กินอยู่ก็จะมีโซเดียม อยู่มากพอสมควร โดยเฉพาะอาหารทะเล นม ไข่ และคงต้องหลีกเลี่ยงอาหาร ดองเค็ม ปลาเค็ม เนื้อ-หมูเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น

โพแตสเซียม (potassium): สารอาหารบางชนิดอื่น เช่น โพแตสเซียมซึ่งพบว่า ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะโพแตสเซียมสูง ฉะนั้นต้องมีการควบคุมการกินโพแตสเซียมให้น้อยลง เช่น ผลไม้บางชนิด กล้วย มะขามหวาน ฝรั่ง กระท้อน ฯลฯ ให้น้อยลง

แคลเซียม(calcium):แคลเซียมเป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะขาดไม่ได้ ดังนั้น การแนะนำให้ดื่มนมสดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนย และมีน้ำตาลน้อยก็จะชวยเพิ่มแคลเซียมให้ผู้ป่วยได้เช่นกัน ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือปลาที่กินทั้งกระดูก ก็จะมีแคลเซียมมากด้วย

วิตามินและแร่ธาตุ(vitamin & minerals): ผู้ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต มักมีการสูญเสียวิตามินที่สะสมในน้ำไปกับการฟอกเลือด หรือการล้างไต การรับประทานผักใบเขียวจะช่วยให้ได้รับวิตามินเพิ่มขึ้น และใยอาหารยังช่วยไม่ให้ท้องผูก แต่ผักใบเขียวมักมีสารโพแตสเซียมสูง จึงอาจทำให้ผู้ป่วยกังวล ประกอบกับภาวะเครียดและการเบื่ออาหาร ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยขาดวิตามินและแร่ธาตุ

ที่กล่าวมานั้นเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะที่มีใน โพสเดียเวล ตรงตามหลักการแพทย์และโภชนาการ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือด หรือล้างไต)

เนื่องด้วยสภาวะของโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การดูแลเรื่องอาหารเพื่อช่วยบรรเทาสภาวะของโรคดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ทั้งของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล คุณภาพชีวิตจะแย่ลง จิตใจเศร้าหมอง รวมทั้งค่าใช้จ่ายก็สูง สุดท้ายอาการของโรคก็ทรุดลงโพสเดียเวล จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม มีสารอาหารครบถ้วน ตามหลักการแพทย์และโภชนาการ มีค่าพลังงานและสารอาหารชัดเจน สามารถกำหนดปริมาณพลังงาน โปรตีน และปริมาณน้ำได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต


 

โพสเดียเวล เครื่องหมายการค้า โปรเวล

สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดด้วยการฟอกไต

 (Dialysis Patients Formula)

สูตรอาหารเฉพาะที่มีโปรตีนปานกลาง เกลือแร่ต่ำ ใยอาหาร และแคลเซียมจากธรรมชาติสูง

 อาหารบำบัดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายมีความสำคัญมาก เพราะหากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนเรื่องการรับประทานอาหารได้ถูกต้องก็จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพหรือการไปล้างไตก็ไม่ต้องไปบ่อยนัก โรคไตเป็นโรคที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารที่มีปริมาณสารอาหารมากน้อยเท่าใดนั้น แพทย์เท่านั้นที่จะต้องเป็นผู้กำหนด ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนอาหารตามสภาวะและความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ  สารอาหารที่ต้องการควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้าย  ได้แก่ โปรตีน(ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป) โซเดียม(Sodium)  โปแตสเซียม(Potassium)  ฟอสฟอรัส(Phosphorus)  และน้ำ(Water)

"การบำบัดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยอาหาร ยิ่งเริ่มต้นเร็วตั้งแต่ไตเสื่อมน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะได้ผล ชะลอความเสื่อมของไตไว้ ได้ดีเท่านั้น มีหวังที่จะมีชีวิตยืนยาว”

โพสเดียเวล อาหารสูตรครบถ้วนที่มีโปรตีนปานกลาง เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดด้วยเครื่องฟอกไต(Hemodialysis) หรือการล้างไตในข่องท้อง(Peritoneal Dialysis) เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย สามารถผสมให้มีความเข้มข้นต่าง ๆ ตามความต้องการ มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน ตรงตามหลักทางการแพทย์และโภชนาการ ประกอบด้วย

  • โปรตีน 22% และให้พลังงานอย่างพอเพียงพอเพื่อลดการทำงานของไต และต้องการลดของเสียที่คั่งค้างในร่างกาย
  • คาร์โบไฮเดรตจากแป้งโมเลกุลเชิงซ้อน 55%  (และไม่มีน้ำตาล) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ไขมันอิ่มตัวเพียง 1.8% (โดยมีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9) เพื่อลดภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ใยอาหารและแคลเซียมจากธรรมชาติสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะกระดูกพรุน  ไขมันไนเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่
  • โซเดียม โพแตสเซียม และฟอสฟอรัส จะต่ำ เพื่อป้องกันอาการตัวบวมและความดันโลหิตสูง  

โพสเดียเวล คุณสมบัติ

  • ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม ให้พลังงานอย่างเพียงพอเพื่อชดเชยโปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็นที่สูญเสียไปในขบวนการฟอกไต
  • คุมปริมาณโซเดียม โพแตสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ต่ำ เพื่อป้องกันอาการตัวบวมและความดันโลหิตสูง
  • ไขมันอิ่มตัวเพียงต่ำ แต่มีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3, 6 และ9 และ MCT เพื่อลดภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ใยอาหารสูง ซึ่งจะช่วยป้องกันเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ไขมันไนเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่
  • เพิ่มแอล-อาร์จินีน และทอรีน เพื่อขยายเส้นเลือด ควบคุมความดัน และกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินA,C, E และเซเรเนียม เพื่อลดการเสื่อมของเซล โดยเฉพาะที่เบต้าเซลของตับอ่อน ป้องกันการอักเสบของเซลประสาท
  • เสริมแคลเซี่ยมจากนม และ วิตามิน ดี เพื่อการทำงานร่วมกับแคลเซี่ยม ในการสร้างกระดูก เพราะผู้ป่วยด้านไตจะไม่สามารถสังเคราะห์วิตามิน ดี3ได้เอง
  • เสริมโอเมก้า 3 ประกอบด้วย EPA และ DHA ในการลดไขมันเลวไตรกลีเซอไรด์ ลดการอักเสบของไต ลดปริมาณไข่ขาว(อัลบูมิน)ในปัสสาวะ
  • ไฟเบอร์สูง และมีแพล้นท์สเตอรอล เพื่อลดไขมันโคเลสเตอรอล
  • ให้พลังงาน 360 กิโลแคลอรี / 200 มิลลิลิตร  
  • รสข้าวโพด อร่อย ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเต้นท์ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ (Allergy)

โพสเดียเวล เครื่องหมายการค้าโปรเวล คัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ดังนี้

โปรตีน (Protein)  คัดสรรแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและย่อยง่ายโดยมีการเข้มข้นของโปรตีนไม่น้อยกว่า 90% ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายร่างกายได้รับการบำบัดทดแทนไต ภายหลังการฟอกเลือดหรือล้างไต ร่างกายจะสูญเสียโปรตีน โดยเฉพาะกรดอะมิโนจำเป็น จึงต้องใช้โปรตีนอย่างเต็มประสิทธิภาพ และสามารถดูดซึมได้เร็วตอบสนองความต้องการของร่างกายได้ทันที ได้แก่

  • เวย์โปรตีนเดี่ยว(WPI)  จะมีกรดอะมิโนที่จำเป็น 8 ชนิด ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้และพบในอัตราที่สูง เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีปริมาณ 54% ของแหล่งโปรตีนทั้งหมด
  • เคซีน(Casein) โปรตีนจากนม พบว่ามีกรดอะมิโน เมไธโอนีน วาลีน โพรลีน ไทโรซีน และ กลูตามิกสูง  มีปริมาณ 33% ของแหล่งโปรตีนทั้งหมด
  • ซอยโปรตีนไอโซเลต(Soy Protein Isolated) โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง พบว่ามี เฟนิลอะลานีน  ฮีสทีดีน  อาร์จีนีน แอสพาติก และไกลซีนสูง มีปริมาณ 13% ของแหล่งโปรตีนทั้งหมด

โปรตีนทั้ง 3 แหล่งรวมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ได้กรดอะมิโนครบถ้วน 20 ชนิดในอัตราส่วนที่สูง โดยเฉพาะกรดอะมิโนที่จำเป็น*** (คิดเป็น 41% ของกรดอะมิโนทั้งหมด) ที่ร่างกายต้องการและไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องได้เพิ่มจากอาหารเท่านั้น.

      1 แก้ว (200 มล.) 80 กรัม / 4 ช้อนตวง จะมี โปรตีน 17.61 กรัม  คิดเป็น 20% ของพลังงานทั้งหมด

ตาราลงแสดงกรดอะมิโน โพสเดียเวล

สารอาหาร

ต่อผง    100 กรัม

ปริมาณอาหารที่ผสมน้ำแล้ว (1แก้ว:200มล.) 80กรัม/        1 ซอง /4 ช้อนตวง

ปริมาณที่แนะนำ       มล./วัน

** % เปรียบเทียบกับปริมาณที่แนะนำต่อวัน

****วาลีน , กรัม

0.85

0.68

500

136

****ลิวซีน  , กรัม

1.39

1.11

700

159

****ไอโซลิวซีน , กรัม

0.80

0.64

500

128

****ทรีโอนีน , กรัม

0.72

0.58

350

166

****ทริปโตเฟน , กรัม

0.20

0.16

***

***

****เมไธโอนีน , กรัม

0.32

0.26

650

40

****เฟนิลอะลานีน , กรัม

0.72

0.58

700

83

****ไลซีน , กรัม

1.12

0.90

600

150

อาร์จีนีน , กรัม

0.63

0.50

1000

50

ฮีสทีดีน , กรัม

0.47

0.38

***

***

โพรลีน , กรัม

1.23

0.98

***

***

เซอรีน , กรัม

0.74

0.59

***

***

ไทโรซีน , กรัม

0.65

0.52

***

***

อะลานีน

0.55

0.44

***

***

แอสพาติค , กรัม

1.29

1.03

***

***

กลูตามิก , กรัม

2.87

2.30

***

***

ไกลซีน , กรัม

0.36

0.29

***

***

ซิทีน , กรัม

0.20

0.16

650

25

 * ปริมาณที่แนะนำต่อวัน ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารละยา โดยสมมุติน้ำหนักตัวที่ 60 กิโลกรัม

** ร้อยละของสารอาหารโพสเดียเวลเปรียบเทียบกับสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยา

*** คณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้กำหนด

**** กรดอะมิโนจำเป็น

โพสเดียเวล ได้เสริมกรดอะมิโนเดี่ยวเพิ่มอีก เพราะการเสริมกรดอะมิโนมีความสำคัญ และจำเป็นต่อผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตมีโอกาสได้รับโปรตีนในแต่ละมื้อไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องจำกัดปริมาณโปรตีนที่รับประทานให้เหมาะสม เพื่อลดการทำงานของไต ส่งผลให้กรดอะมิโนที่มีในโปรตีนลดลงด้วย การเสริมกรดอะมิโน (Amino Acid Mixture) จึงช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายได้รับกรดอะมิโนครบถ้วนโดยเฉพาะกรดอะมิโนจำเป็น อีกทั้งการดูดซึมและการนำไปใช้ประโยชน์ก็มีประสิทธิภาพสูงกว่าด้วย  ได้แก่กรดอะมิโน แอล-คาร์นิทีน, แอล-อาร์จินีน และทอรีน

คาร์โบไฮเดรต(Carbohydrate)  คือ กลุ่มแป้งและน้ำตาล ร่างกายจะใช้เป็นพลังงานอย่างเดียวเท่านั้น น้ำยาที่ผู้ป่วยใช้ล้างไตมีส่วนผสมของน้ำตาล เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย โพสเดียเวลจึงคัดสรรแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเหมาะสำหรับกับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดด้วยการล้างไตหรือฟอกไต ดังนี้

  • มอลโตเด็กติน  (Maltodextrin) ซึ่งเป็น แป้งที่ผ่านขบวนการดัดแปลง (Modified starch)  ทำให้ขบวนการย่อย เป็นน้ำตาลช้า ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ซูคราโลส  (Sucralose) สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน มีรสชาติเหมือนน้ำตาล แต่มีความหวานประมาณ 600 เท่าของน้ำตาล ไม่มีรสขมติดลิ้น ความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ได้กับทุกๆคน รวมทั้งสตรี มีครรภ์ แม่ที่ให้นมลูก ตลอดจนเด็กทั่วไป
  • ใยอาหาร 4 % ทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ให้พลังงาน ประกอบด้วย

        o    อินนูลิน (Inulin) ไม่สามารถถูกย่อยโดยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร มีผลดีต่อสุขภาพ คือ จะผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่ในสภาพที่สมบูรณ์จึงไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ที่สำคัญเป็นพรีไบโอติก ( Prebiotic) ถือว่าเป็นเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ช่วยเพิ่มกากในระบบทางเดินอาหารลดคอเลสเตอรอลและป้องกันมะเร็งในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมที่ดูดซึมได้นั้นยังเข้าสู่กระดูกซึ่งเป็นบริเวณที่ต้องการแคลเซียมโดยตรง ขณะที่แคลเซียมส่วนเกินซึ่งมากกว่า 70% จะถูกขับออกมาจากร่างกาย

         o   ใยถั่วเหลือง (Soy Fiber) เป็นเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม ป้องกันท้องผูก

โพสเดียเวล  มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index : GI) ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นผลดีต่อตับอ่อน กล่าวคือ ไม่ต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินในปริมาณมาก และอินซูลินที่ผลิตสามารถทำงานได้ย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับช่วยป้องกันตับอ่อนไม่ต้องทำงานหนัก ทั้งยังทำให้อินซูลินจับกับเซลล์ได้ดีขึ้นด้วยทำให้การใช้กลูโคสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้การเผาผลาญกลูโคสเป็นไปด้วยดี

     1 แก้ว (200 มล.) 80 กรัม / 4 ช้อนตวง จะมี คาร์โบไฮเดรต 44.45 กรัม  คิดเป็น 50% ของพลังงานทั้งหมด

ไขมัน(FAT) ไขมันจำเป็นเพราะเป็นส่วนประกอบหลักของผนังเซลล์ ฮอร์โมน และสมอง แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมักมีภาวะไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจ   โพสเดียเวล มีกรดไขมันอิ่มตัวเพียง 1.8% โดยมีกรดไขมันจำเป็นครบถ้วน ทั้งโอเมก้า3 6และโอเมก้า9 ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อลดภาวะไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ไขมันยังช่วยในการละลายและดูดซึมของวิตามินหลายชนิด เช่น เอ ดี อี เค และ เบต้าแคโรทีน

โพสเดียเวล  คัดสรรแหล่งไขมันที่ดี ดังนี้

  • MCT : (มีเดียมเชนไตรกลีเซอไรด์) เป็นไตรกลีเซอไรด์ สายปานกลางมีโมเลกุลเล็กจึงดูดซึมได้ง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย เกิดการเผาผลาญอย่างรวดเร็ว จึงไม่ต้องกังวลในเรื่องของการสะสมของไขมันอิ่มตัว เพราะ MCT ถูกปล่อยออกมาเป็นพลังงานทั้งหมด
  • น้ำมันคาโนล่า  : มีโอเมก้า 9 สูง ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว  ตำแหน่งเดียว (MUFA) มีผลในการลดโคเลสเตอรอล และ LDL (ไขมันชนิดไม่ดี) แต่ไม่ลด HDL (ไขมันชนิดดี) โพสเดียเวล มีโอเมก้า 9 คิดเป็น 10 % ของไขมันทั้งหมด  
  • น้ำมันดอกทานตะวัน: มีโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 สูง    เป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (PUFA) ช่วยลดโคเลสเตอรอล และ LDL (ไขมันชนิดไม่ดี) มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง คิดเป็น 8% ของไขมันทั้งหมด
  • แพลนท์สเตอรอล: เป็นไขมันที่ได้จากพืช มีผลช่วยในการลดโคเลสเตอรอล ชนิด LDL (ไขมันไม่ดี) ได้ถึง20%  จึงลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวและหลอดเลือด  มีใยอาหารสูง    
  • โอเมก้า 3 : โพสเดียเวลได้เติมโอเมก้า 3 (สกัดจากปลาทะเล) อีก 20% ของไขมันทั้งหมดเป็นกรดไขมันจำเป็น มี EPA ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจโดยตรง ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ดีขึ้นและลดการติดเชื้อในร่างกาย รวมทั้งลดการอักเสบของไต ลดปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะและมี DHA สารที่สำคัญต่อการทำงานและการพัฒนาการของสมองและจอตา อัตราส่วนของโอเมก้า6 ต่อโอเมก้า 3 ในสารอาหารโพสเดียเวลเท่ากับ 5 ต่อ 1 จึงเป็นอัตราส่วนที่สมดุล (Balanced Proportion) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพของร่างกาย                    

     1 แก้ว (200 มล.) 80 กรัม / 4 ช้อนตวง จะมี ไขมัน 12.15 กรัม  คิดเป็น 30% ของพลังงานทั้งหมด

 

สารอาหารเสริมสำหรับผู้ที่เป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

เนื่องด้วยสภาวะของโรคไตเรื้อรัง ทำให้ต้องจำกัดปริมาณโปรตีนที่รับประทานส่งผลให้มีโอกาสขาดกรดอะมิโนทั้งชนิดที่จำเป็นและไม่จำเป็น การเสริมกรดอะมิโนจึงมีความจำเป็นเพราะสำคัญอย่างยิ่งและด้วยสภาวะการเสื่อมของไต มักทำให้ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีระดับ  แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เนื่องจากแคลเซี่ยมในอาหารถูกดูดซึมได้น้อยลง ในขณะที่ฟอสฟอรัสในเลือดสูง เนื่องจากไตขับถ่ายได้น้อยลง ก่อให้เกิดผลเสียหลายประการเช่น กระดูกพรุน และมีผลต่อต่อมพาราไธรอยด์ ทั้งยังมีผลให้ไตเสื่อมมากขึ้นอีกด้วย

โพสเดียเวล จึงคัดสรรสารอาหารเสริมเพื่อช่วยชะลอการถูกทำลายของเนื้อไตและช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลของสารอาหาร ปรับสมดุลของน้ำ อีเลคโทรไลท์ และ กรดด่างในเลือดให้เป็นปกติ ชะลอความเสื่อมของไต ดังนี้

  • อาร์จีนีนและทอรีน ช่วยขยายหลอดเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้นช่วยลดและควบคุมความดันโลหิตสูงได้ และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • วิตามินซี อี เอ และซิลิเนียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะเบต้าเซลล์ในตับอ่อน และช่วยต้านการบาดเจ็บของเซลล์ประสาท
  • วิตามินดีเมื่อเป็นไตเรื้อรังระยะรุนแรงไตไม่อาจสังเคราะห์วิตามินดี 3 ได้หรือได้ไม่เพียงพอจึงต้องให้เสริมในรูปวิตามินดี 3 ถ้าขาดจะมีผลเสียต่อกระดูก
  • แคลเซียมใช้ธาตุนมจากธรรมชาติ (Milk Calcium Complex) ร่างกายจึงสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีประสิทธิภาพสูง
  •  แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างของกระดูก โรคไตเรื้อรังระยะรุนแรงมีผลกระทบต่อการดูดซึม การขับถ่ายของเกลือแร่ทั้งสองและการสังเคราะห์วิตามินดี ดังนั้น การรับประทานโพสเดียเวล จะได้รับสารเสริมทั้ง 3 ครบถ้วน และเหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและผลเสียที่อาจเกิดต่อต่อมพาราไธรอยด์
  • โอเมก้า 3 มีทั้ง EPA และ DHA ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี รวมทั้งลดการอักเสบของไต และยังพบว่าโอเมก้า 3 ยังสามารถลดปริมาณของไข่ขาวในปัสสาวะของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง และมีแนวโน้มที่จะชะลอการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้ายได้  

โพสเดียเวล เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายพร้อมดื่ม สามารถปรับปริมาณพลังงานและน้ำได้ตามต้องการรับประทานง่าย สะดวก ปลอดภัย เหมาะสมกับความต้องการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต มีคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารครบถ้วน ดังตารางต่อไปนี้

สารอาหาร

ต่อผง    100 กรัม

ปริมาณอาหารที่ผสมน้ำแล้ว (200มล.)

% เปรียบเทียบตามประกาศ

**ปริมาณที่แนะนำต่อThai RDI

พลังงาน , กิโลแคลอรี่

447.15

357.72

***

***

โปรตีน , กรัม

22.01

17.61

35.00%

50

คาร์โบไฮเดรต , กรัม

55.60

44.48

15.00%

300

ไขมัน , กรัม

15.19

12.15

***

65

กรดไขมันอิ่มตัว, กรัม.

1.80

1.44

  1. 00%

20

กรดไขมันโอเลอิก, มก

4968.71

3974.97

***

***

กรดไขมันไลโนลีอิก, มก

4499.46

3599.57

***

***

กรดไขมันไลโนลีนิก,,มก

732.98

586.38

***

***

E.P.A. , มก.

125.60

100.48

***

***

D.H.A. , มก.

81.46

65.17

***

***

ใยอาหาร , กรัม

4.37

3.50

14.00%

25

วิตามิน เอ , มคก.อาร์อี

1382.00

1105.60

138.20%

800

วิตามิน ดี , มคก.

7.18

5.74

114.80%

5

วิตามินอี , มก. แอลฟาร์ ทีอี

0.55

0.44

4.40%

10

วิตามิน ซี , มก.

144.60

115.68

192.80%

60

วิตามิน เค , มคก.

24.79

19.83

24.79%

80

วิตามิน บี1 , มก.

1.83

1.46

97.33%

1.5

วิตามิน บี2 , มก.

3.71

2.97

174.70%

1.7

วิตามิน บี6 , มก.

1.53

1.22

61.00%

2

วิตามิน บี12 , มคก.

6.41

5.13

256.50%

2

แพนโทธินิค แอซิด , มก.

8.20

6.56

109.33%

6

ไนอาซิน , มก.

18.15

14.52

72.60%

20

โฟลิก แอซิด , มคก.

40.00

32.00

16.00%

200

ไบโอติน , มคก.

58.60

46.88

31.25%

150

โคลิน , มก.

297.99

238.39

43.34%

550

คาร์นีทีน , มก.

26.41

21.13

4.23%

500

ทอรีน , มก.

372.65

298.12

19.23%

1550

แคลเซียม , มก.

360.98

288.78

36.00%

800

ฟอสฟอรัส , มก.

141.41

113.13

14.14%

800

แมกนีเซียม , มก

156.94

125.55

35.87%

350

โปแตสเซียม , มก.

488.70

390.96

11.17%

3500

คลอไรด์ , มก.

581.20

464.96

13.68%

3400

เหล็ก , มก.

17.30

13.84

92.27%

15

สังกะสี , มก.

4.57

3.66

24.40%

15

ทองแดง , มก.

0.61

0.49

24.50%

2

แมงกานีส , มก.

0.75

0.60

17.14%

3.5

ไอโอดีน , มคก.

151.00

120.80

80.53%

150

โครเมียม , มคก

68.11

54.49

41.92%

130

ซิลิเนียม , มคก.

25.30

20.24

28.91%

70

โมลิบดินัม , มคก.

129.30

103.44

64.65%

160

โซเดียม , มก

134.82

107.86

28.91%

2400

การกระจายตัวของพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน = 50 : 20 : 30

* ร้อยละของสารอาหารเปรียบเทียบกับสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO)

**องค์การอนามัยโลกไม่ได้กำหนด (WHO)

 

ความเข้มข้นของพลังงาน ต่อปริมาณอาหาร (kcal : ml)

ปริมาณโพสเดียเวล    (ช้อนตวง/กรัม)

ปริมาณน้ำร้อน (ml)

ปริมาณโพสเดียเวล (ml)

ปริมาณพลังงาน (kcal)

0.9: 1

2 ชต./40กรัม

180

200

180

1.35 : 1***

3 ชต./60กรัม

160

200

270

1.8 : 1

4 ชต./80กรัม

140

200

360

3.6 : 1

8 ชต./160 กรัม

120

200

720

วิธีการรับประทานโพสเดียเวล : โปรตีนปานกลาง – ใยอาหารและแคลเซียมจากธรรมชาติสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

สามารถผสมเป็นเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นได้ตามรสชาติที่ชอบและสามารถปรับความเข้มข้นของพลังงานและปริมาณน้ำ* ได้ตามความต้องการของร่างกาย

  • 1 ช้อนตวง = 20 กรัม ผสมน้ำร้อน 35 มิลลิลิตรให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่
  • 4 ช้อนตวง = 80 กรัม ผสมน้ำร้อน 140 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 360 กิโลแคลอรี่

วิธีชงเครื่องดื่มร้อน  เติมน้ำร้อน (ประมาณ 70 องศาเซลเซียล) ปริมาณตามความเข้มข้นที่ต้องการ (ดูจากตาราง) ลงในโพสเดียเวลที่เตรียมไว้ คนหรือเขย่าจนละลายเข้ากันดี (ประมาณ 2-3 นาที) จะได้สารอาหารโพสเดียเวล 200 มิลลิลิตรให้พลังงานตามตารางการผสมอาหาร

หมายเหตุ :

  • ภาชนะที่เตรียมควรสะอาดและมีฝาปิดตลอดเวลา เพื่อรักษาอุณหภูมิ รสชาติ และสารอาหาร
  • กรณีที่ให้ทางสายให้อาหาร(Feeding) ควรตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นก่อนให้ทางสายให้อาหาร

วิธีชงเครื่องดื่มเย็นและปั่น

เครื่องดื่มเย็น

  • เติมน้ำร้อน (ประมาณ 70 องศาเซลเซียล) ประมาณ ½ แก้ว**  (70 มล.)   ลงในโพสเดียเวลที่เตรียมไว้***
  • คนหรือเขย่าจนละลายเข้ากันดี (ประมาณ 2-3 นาที) เติมน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดและผลไม้สดเพื่อเพิ่มความสดชื่นและรสชาติตามความชอบ 

เครื่องดื่มปั่น

  • ให้เทส่วนผสมโพสเดียเวล ผลไม้สด และน้ำแข็งที่เตรียมไว้ลงในเครื่องปั่น
  • ปั่นพอให้น้ำแข็งก้อนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง จะได้เครื่องดื่มปั่นรสชาติตามที่คุณชอบ
  • ที่ความเข้มข้น 1 กิโลแคลอรี่ ต่อ มิลลิลิตร ตัก โพสเดียเวล 3 ช้อนตวง (60 กรัม) เติมน้ำร้อนเพียง ½ แก้ว (100 มล.)  สำหรับความเข้มข้นอื่น ๆ ให้ลดปริมาณน้ำร้อน*ลง  ½ จากตารางการผสมอาหาร จะทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้น
  • อาหารที่ผสมแล้วควรรับประทานทันที หากไม่รับประทานทันทีควรเทใส่ภาชนะที่สะอาดแล้วปิดฝาเก็บไว้ในตู้เย็น(อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล) นำมาอุ่นก่อนรับประทาน และไม่ควรเก็บไว้เกิน 24 ชั่วโมง
  • สามารถเพิ่มปริมาณ ได้มากกว่าจำนวนช้อนตวงตามปริมาณที่ต้องการ และผสมน้ำตามอัตราส่วนในตารางการผสมอาหารให้ได้ปริมาณพลังงานตามที่กำหนด

*ในกรณีที่ต้องการปรับเพิ่มพลังงาน และความเข้มข้นที่แตกต่างจากในตารางการผสม สามารถปรับปริมาณ โพสเดียเวล ได้โดย 1 ช้อนคตวงมีผงโพสเดียเวล 20 กรัม ผสมน้ำร้อน 35 มล. ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่

เปรียบเทียบการรับประทานอาหารปกติกับอาหารสำเร็จรูป

อาหารปกติ 1 มื้อ (300-700 kcal)

โพสเดียเวล 1แก้ว / 1มื้อ (360 kcal)

ประกอบด้วย :  โปรตีนสูง 22% ใยอาหารสูง 11% แคลเซียมจากธรรมชาติสูง ไขมันอิ่มตัวเพียง 2% ไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า3 , 6 และ 9 เกลือแร่ วิตามิน และ สารอาหารเสริม 6% แพลนท์สเตอรอล 0.064 มก.

อาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย หรืออาจได้รับโปรตีนมากเกินไป  ทำให้ของเสียคั่งในร่างกายมากขึ้น หรือหากได้รับน้อยเกินไปร่างกายขาดพลังงาน เกิดภาวะทุพโภชนาการ  มีอาการและสภาวะของโรคไตวายรุนแรงขึ้น การฟอกไตหรือล้างไตบ่อยขึ้น สูญเสียค่าใช้จ่าย อัตราเสียชีวิตสูง  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ

  • ชนิดของอาหารที่รับประทาน
  • คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้
  • ขบวนการปรุงอาหาร
  • สภาวะของร่างกาย
  • สิ่งแวดล้อม                              

และความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหาร

  • สารอาหารครบ โปรตีนและแร่ธาตุเหมาะสม มีสัดส่วนที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายต้องฟอกไต โดยมี
  • โปรตีนปานกลาง 22% และให้พลังงานอย่างพอเพียง 
  • มีกรดอะมิโนครบถ้วน 20 ชนิด
  • ไขมันอิ่มตัวเพียง 2 %
  • สะดวก ชงละลายพร้อมดื่ม รสชาติอร่อย
  • ปลอดภัย สารอาหารครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการและค่าพลังงานชัดเจน
  • มีสารอาหารเสริม ที่สำคัญและจำเป็นต่อผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้แก่  + แพลนท์สเตอรอล   +โอเมก้า 3 +วิตามินบี3  +โครเมียม +ใยอาหารสูงจากอินนูลินและใยถั่วเหลือง +แคลเซียมและแร่ธาตุนมจากธรรมชาติ 

อาหารบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีความสำคัญมาก  เพราะหากผู้ป่วยที่สามารถปฏิบัติเรื่องการรับประทานอาหารได้ถูกต้องไม่เกิดภาวะทุพโภชนาการก็จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ นั่นหมายถึงลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังการล้างไต ชะลอการเสื่อมของเนื้อไต   ทำให้ไตทำงานลดลง อัตราการเสียชีวิตก็จะลดลง

    การรับประทานอาหารของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดด้วยการฟอกและล้างไตจะต้องได้รับปริมาณโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายไม่จำกัดเหมือนระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต โดยมีกรดอะมิโนครบถ้วน 20 ชนิด  แต่ก็ยังต้องควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการฟอกเลือดหรือล้างไตสามารถขจัดของเสียจากเลือดแทนไตได้เพียงบางส่วนคือ  6-7% สำหรับการฟอกเลือดด้วยไตเทียม และ 10-20% สำหรับการล้างไตทางช่องท้องเท่านั้น

    ควรรับประทานอาหารที่มี โซเดียม โพแตสเซียม และฟอสฟอรัสต่ำ

    ยังมีความต้องการแคลเซียมปริมาณสูง รวมถึงวิตามินดี เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนและผลเสียต่อต่อมพาราไธรอยด์

    โดยควรได้รับพลังงานจากสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไตเสื่อมสมรรถภาพมากขึ้น จนอาจถึงภาวะไตวายรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ สุดท้ายก็ต้องบำบัดทดแทนไตด้วยความถี่มากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายสูงมาก คุณภาพชีวิตก็จะแย่ลงทั้งผู้ป่วยและครอบครัว

            โพสเดียเวล เครื่องหมายการค้าโปรเวล  เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต มีโปรตีนปานกลาง กรดอะมิโน 20 ชนิด สารอาหารครบถ้วน  ชงดื่มง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย สามารถกำหนดพลังงานปริมาณน้ำและโปรตีนได้ตามต้องการ ตรงกับข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยา ตามหลักการแพทย์และโภชนาการช่วยชะลอการเสื่อมและยืดอายุการทำงานของไต 

ขนาดบรรจุ: 480กรัม/กระป๋อง (6 มื้อ)

ข้อควรระวัง: ไม่เหมาะแก่ผู้แพ้โปรตีนจากนม ปลา ถั่วเหลือง

ติดต่อศูนย์โภชนโปรเวล 085-0597478 หรือ ไลน์ : @prowell_nutritions

 

 เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดวิกฤตไตวาย

 

 

 

 

Visitors: 273,267