คู่มือพรีเดียเวล เพิ่มคุณภาพชีวิต พิชิตไตเสื่อม

                                            

โภชนบำบัด กับ โรคไตเรื้อรัง

(Nutrition For Pre-Dialysis Patients)

                                   อาหารบำบัดที่ดี ควรมีโปรตีนคุณภาพดีปริมาณต่ำ และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ                                          โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสต่ำ 

โรคของไต (kidney disease)

โรคไตมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งชนิดเฉียบพลัน รักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคไตอักเสบชนิดเฉียบพลัน(Acute glomerulonephritis) โรคกลุ่มอาการเนโฟรติค(Nephrotic syndrome) อันเป็นโรคที่มีการสูญเสียโปรตีนออกมามากในปัสสาวะ    โรคดังกล่าวมีผลให้หน้าที่ของไตเสียไปบ้างแต่เพียงบางส่วน เช่น โรคกลุ่มอาการเนโฟรติคนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไตยังคงทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย เช่น ยูเรีย(Urea) ทั้งรักษาสมดุลของกรด – ด่าง ของร่างกายได้ตามปกติ แต่เมื่อเกิดโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) อันเป็นโรคที่หน่วยไตถูกทำลายลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าสุดแต่โรคอันเป็นสาเหตุ เช่น เบาหวาน และความดันโลหิตสูง จะเป็นการสูญเสียหน้าที่ของไตในทุกๆ ด้าน (ขับถ่ายของเสีย รักษาสมดุลน้ำและอิเลคโทรไลท์ สังเคราะห์ฮอร์โมน) ย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างรุนแรง อาทิ มีของเสีย เช่น ยูเรียและกรดยูริคคั่งในร่างกาย ในเลือดจึงมีสารดังกล่าวในระดับสูงกว่าปกติ (BUN > 20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)  มีการเสียสมดุลของกรด-ด่าง (เลือดมีภาวะเป็นกรด) เสียดุลของน้ำและอิเลคโทรไลท์ (ตัวบวมน้ำเพราะมีน้ำและโซเดียมคั่ง) มีภาวะเลือดจาง (เพราะไตสร้างฮอร์โมน อีรีโธปัวอิตัน Erythropoietin ได้น้อยลง) ฯลฯ

โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ การบำบัดทั้งด้วยยา (มากมายหลายชนิด) และด้วยอาหาร (ควบคุมสารอาหารหลายชนิด) ก็เพียงชะลอความเสื่อมของไตไว้ได้บ้างเท่านั้น กล่าวคือมีผลให้หน่วยไตถูกทำลายช้าลง ยืดเวลาที่จะต้องเข้าสู่ระยะที่ต้องใช้อุปกรณ์ทดแทนไต เช่น ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ให้ยาวออกไป หรือการล้างไตผ่านทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) อาจช่วยให้ชีวิต ยืนยาวขึ้นได้บ้าง

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)

เป็นโรคที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ เพราะนับวันจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกที เพราะเป็นแล้วรักษาให้หายขาดไม่ได้ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งมีสาเหตุจากเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคไตเรื้อรัง

การบำบัดโรคไตเรื้อรังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากสูงที่สุดในบรรดาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ต้องการอุปกรณ์ เช่น เครื่องฟอกเลือด ซึ่งมีราคาแพงต้องการบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ (Nephro-nurse) นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัว (ค่ายา ค่าฟอกเลือดฯ) และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสัปดาห์ละ 2-3 วัน วันละ 4-5 ชั่วโมง) รวมทั้งครอบครัวอีกด้วย

การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง

การพบว่ามีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะก็ดี การพบว่ามีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ในปัสสาวะ รวมทั้งการตรวจพบว่าไตมีขนาดผิดไปจากปกติ (ปกติ 12x5cm)ก็ดี ล้วนเป็นเครื่องแสดงว่าเนื้อไตถูกทำลายไป มีโรคไตเรื้อรังเกิดขึ้นแล้ว ถ้าไม่รีบตั้งต้นให้การรักษา ไตก็จะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง       

บทบาทของการดูแลภาวะโภชนาการผู้ป่วยไตเรื้อรังมีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักในการป้องกันหรือการชะลอโรคไตเสื่อมเรื้อรังไม่ให้ไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การจำกัดโปรตีนในอาหาร ถือเป็นวิธีหนึ่งที่มีหลักฐานเพียงพอว่าสามารถช่วยชะลอการดำเนินของโรคได้ แต่ในขณะเดียวกันปัญหาที่พบ คือผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหาร และเมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไต(ล้างไตหรือฟอกเลือด) อัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตาย ของกลุ่มผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารจึงสูงกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการที่ปกติ!!

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง

ได้แก่ ผู้ที่มีโรคดังต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน และควบคุมได้ไม่ดี หรือมิได้ควบคุม
  • มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะอยู่บ่อย ๆ
  • มีโรคเลือด เช่น atherosclerosis ที่หัวใจ โรคสมองขาดเลือด
  • มีโรคถุงน้ำของไตทั้งสองข้าง
  • เคยเป็นโรคหลอดเลือดขาวฝอยไตอักเสบ (Glomerulonephritis) เพราะติดเชื้อ โรคไตอักเสบ (nephritic syndrome)
  • มีโปรตีน ออกมาในปัสสาวะมาก

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้หากตรวจ(หาโรคไตเรื้อรัง) ครั้งแรกอาจจะไม่พบ ควรตรวจซ้ำทุก 6 เดือน

ระยะต่าง ๆ ของโรคไตเรื้อรัง

ในโรคไตเรื้อรังเมื่อหน่วยไตถูกทำลายลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ความสามารถในการขจัดของเสียของไตก็จะลดลงเรื่อย ๆ ยิ่งโรคมีความรุนแรงมากขึ้นเท่าใดความสามารถในการขจัดของเสียของไตก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น จนเมื่อถึงระยะสุดท้ายที่ผู้ป่วยจะอยู่ได้โดยไม่ฟอกเลือดนั้น ไตทำหน้าที่ขจัดของเสียได้น้อยเหลือเกิน

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney Disease) ระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต (Pre-dialysis) ระยะ 1-5

ระยะที่1 ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นมีการดำเนินของโรค จนถึงระยะสุดท้ายที่ผู้ป่วยจะอยู่ได้โดยไม่ต้องรับการบำบัดทดแทนไต(ระยะที่5) เรียกว่า ระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต(Pre-dialysis) เป็นช่วงเวลาที่ยาวที่สุดของการดำเนินโรค และมีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยโรคไต (ปัจจุบันประเทศไทยมีประมาณ 6 ล้านคน)

ระยะที่1-2  นับเป็นระยะเริ่มต้น ไตสูญเสียหน้าที่ไปไม่มากนักเพียงไม่ถึง 40% หากวินิจฉัยโรคได้ในระยะนี้ และเริ่มต้นบำบัดอย่างเคร่งครัด จะได้ผลในเชิงชะลอความเสื่อมของไตไว้ได้ดีที่สุด

ระยะที่3-5  นับเป็นระยะที่ไตสูญเสียหน้าที่ไปมากแล้ว (>50%) ปัจจุบันสำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยประมาณ 2 ล้านคน หากเริ่มต้นการบำบัดทั้งด้วยยาและอาหารในระยะนี้จะไม่ได้ผลมากนักในการชะลอความเสื่อม เพราะไตเสื่อมไปมากแล้วแต่จะมีผลช่วยลดปริมาณของเสียในเลือด บรรเทาอาการยูรีเมีย ช่วยให้ผู้ป่วยสบายขึ้นบ้างเท่านั้น จึงควรเผยแพร่ความรู้และกระตุ้นเตือนให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังไปรับการตรวจวินิจฉัยโรคบ่อยๆ (อย่างน้อยทุก 6เดือน) หากพบว่าเป็นโรคก็จะได้รู้เสียตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะได้เริ่มต้นรับการบำบัด                          

 ทั้งด้วยยาและอาหารอย่างจริงจังเสียตั้งแต่โรคอยู่ในระยะ 1-2 (ไตยังไม่เสื่อมมาก) อันจะยังผลให้ชะลอความเสื่อมของไตไว้ให้ดีที่สุด

ระยะที่5  ไตเสื่อมมากแล้ว ของเสียในเลือด (BUN) จะสูงมากอาจ 100 มก./ดล. ผู้ป่วยเตรียมตัวรับการบำบัดทดแทนไต เช่น รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือใช้น้ำยาฟอกเลือดทางช่องท้องหรือรับการปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยากชะลอให้ถึงเวลาบำบัดทดแทนไตช้าที่สุดคือ อยู่ใน Pre-dialysis stage ให้นานที่สุด จะบังเกิดผลดังกล่าวได้ เมื่อผู้ป่วยจำนวนมากเหล่านี้ จำเป็นจะต้องได้รับความรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพยายามที่จะปฏิบัติตนทั้งในด้านยาบำบัดและอาหารบำบัดอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ เพื่อว่าจะได้ชะลอเวลาที่เข้าสู่ระยะรับการบำบัดทดแทนไต อันเป็นระยะเวลาที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากทั้งยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน อันอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ง่าย ให้ช้าที่สุด

หน้าที่ของไตกับสารอาหาร

เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการขับของเสีย โดยเฉพาะไนโตรเจนจากโปรตีน การรักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และกรดด่าง ดังนั้นเมื่อหน้าที่ไตเสื่อมลงจึงมีความผิดปกติของสมดุลดังกล่าว ในแง่ของสารอาหาร พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังนี้

  1. โปรตีน เมื่อมีการสูญเสียหน้าที่ของไต จะมีการสะสมของไนโตรเจนที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีน เปปไทด์ และกรดอะมิโนในขณะเดียวกัน เมทาบอลิซึมของโปรตีนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากการที่ไตสูญเสียหน้าที่ทำให้กรดอะมิโนบางชนิดที่เคยเป็นกรดอะมิโนชนิด “ไม่จำเป็น” (Non-Essential Amino Acids; NEAA) เปลี่ยนไปเป็นชนิด “จำเป็น” (Essential Amino Acids; EAA) ตัวอย่างเช่น กรดอะมิโน ไทโรซีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนต้นกำเนิดของธัยรอยด์ฮอร์โมน
  2. คาร์โบไฮเดรต ในภาวะไตวายร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากไตมีส่วนสังเคราะห์กลูโคส (gluconeogenesis) ประมาณร้อยละ 20-25 ของร่างกาย และขณะเดียวกันฮอร์โมนอินซูลินมีการเปลี่ยนสภาพที่ท่อไต ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลิน อาจมีความต้องการอินซูลินลดลง หรือในทำนองกลับกันภาวะยูรีเมียอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้มากขึ้น
  3. ไขมันในเลือดสูง ทั้งนี้เนื่องจากการย่อยสลายไขมันในเลือดจำเป็นต้องใช้เอ็นไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (Iipoproteinlipase activity) ที่จะเกิดการทำงานได้โดยการใช้แคลเซียมเป็นตัวกระตุ้น แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักจะเกิดสมดุลแคลเซียม ฟอสเฟตผิดปกติ เราจึงเห็นระดับของไขมันทั้งไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลในเลือดผู้ป่วยสูง
  4. เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม รวมถึงสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก อะลูมินั่ม โฟเลต และวิตามินต่าง ๆ
  5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หลายชนิดจนเป็นสาเหตุของความผิดปกติอื่นๆ ตามมา เช่น เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง พาราธัยรอยด์ฮอร์โมนสูง ทำให้กระดูกเปราะบาง ขาดอีรีโธปัวอีติน ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นต้น

บทบาทของอาหารบำบัดในโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต

ที่สำคัญที่สุด คือการชะลอความเสื่อมของไต ให้ดำเนินไปช้าที่สุด กล่าวคือช่วยให้หน่วยไตส่วนที่ยังเหลืออยู่ ถูกทำลายลงอย่างช้า ๆ การบำบัดด้วยยาและอาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของโรค จะได้ผลดียิ่งกว่าในระยะที่โรครุนแรงแล้ว หน่วยไตถูกทำลายไปมากแล้ว อย่างไรก็ตามปรากฏว่าผู้ป่วยที่ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ สามารถชะลอความเสื่อมของไตไว้ได้เป็นปี ๆ ทีเดียว

  • อาหารที่ชะลอความเสื่อมของไตไว้ได้ ประการแรกต้องมีโปรตีนต่ำ ซึ่งก็จะมีผลให้ของเสีย (เช่น ยูเรีย) มีปริมาณน้อยลง ไตส่วนที่เหลือจะได้ทำงานลดลง มีปัจจัยหลายประการที่อาจมีส่วนเร่งให้ไตเสื่อม การจัดอาหารก็จะมีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยเหล่านั้นด้วย เช่น ภาวะฟอสเฟตสูง โคเลสเตอรอลในเลือดสูง กรดยูริคสูง น้ำตาลสูง และความดันโลหิตสูง
  • ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ (ด้วยการจำกัดโซเดียม โพแทสเซียม และน้ำ) ไตปกติทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติอยู่เสมอ เมื่อไตเสื่อมลงขับถ่ายเกลือแร่บางชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ไม่ได้ดังปกติ เกิดการเสียดุล ระดับของเกลือแร่ดังกล่าวในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องกินอาหารจำกัดเกลือแร่ดังกล่าว และอาจต้องจำกัดน้ำด้วย
  • ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ หรือใกล้เคียงปกติตลอดเวลา ด้วยยาลดความดันโลหิต(แพทย์สั่ง) และด้วยจำนวนอาหารจำกัดโซเดียม ประกอบกับข้อปฏิบัติอื่น ๆ เช่น งดบุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ                                                                                                 
    บุคคลปกติ ควรจำกัดโซเดียม 2,000-3,000 มิลลิกรัม /วัน
    ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือบวม ต้องจำกัดโซเดียมให้ <2,000 มิลลิกรัม /วัน    
    ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อม ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรให้ความสำคัญในการบำบัด ทั้งด้วยยาลดความดัน และอาหารจำกัดโซเดียม และควรหมั่นตรวจสอบ ความดันโลหิต เป็นประจำสม่ำเสมอ  
                                                                
  • ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย (ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานเป็นเหตุให้เกิดโรคไตเรื้อรัง) จะต้องจัดอาหารเพื่อบำบัดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (คือรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติหรือใกล้ปกติตลอดเวลา)
  • บำบัดหรือบรรเทาความแปรปรวนในด้านเมตาบอลิซึม เช่นภาวะไขมันในเลือดสูง(dyslipidemia) เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติอาจมีความแปรปรวนทุกอย่างหรือมีเพียงบางอย่าง ยิ่งมีความผิดปกติมากเท่าใด ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงภาวะไตเสื่อมก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น 
  • แก้ไขบรรเทาภาวะฟอสเฟตสูง(hyperphosphatemia) ที่เกิดร่วมกับโรคไตเรื้อรังที่ไม่ได้รับการบำบัด ก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ อาทิ เป็นเหตุสำคัญทำให้ไตเสื่อม ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะกระดูกพรุนเพราะโรคไต
  • แก้ไขบรรเทาภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ด้วยการใช้ยาลดกรดยูริก (แพทย์สั่งเท่านั้น เพราะยาลดกรดยูริก ผู้ป่วยจำนวนมากแพ้ยา) ร่วมกับการรับประทานอาหารพิวรีนต่ำ และไขมันต่ำด้วย ระดับกรดยูริกที่สูงอาจทำให้เกิดนิ่ว และอาจทำให้ไตเสื่อม
  • ป้องกันหรือบรรเทาภาวะทุพโภชนาการ (โดยการควบคุมโปรตีน พลังงาน และสารอาหารอื่น ๆ ) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก และเป็นเหตุให้อัตราการตายสูงขึ้น จะต้องเฝ้าระวังมิให้เกิด เมื่อเกิดต้องรีบบำบัด ด้วยการจัดอาหารที่มีโปรตีนในระดับที่เหมาะสม (0.6-0.8 กรัม/กก.น้ำหนักตัวที่ควรจะเป็นต่อวัน)  และให้พลังงานอย่างพอเพียงหรือเกินพอเล็กน้อย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดอาหารบำบัด

พลังงาน ความเพียงพอในด้านพลังงานนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อาหารที่ให้พลังงานพอเพียง หรือเกินพอเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกายใช้โปรตีนปริมาณน้อยได้อย่างคุ้มค่า กล่าวคือใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สร้างสารที่จำเป็นต่างๆ เช่น ฮอร์โมน สารภูมิคุ้มกันโรค และไม่ต้องนำโปรตีนมาเผาผลาญให้เกิดพลังงาน

การจัดอาหารให้พลังงานมากน้อยเท่าไหร่ ต้องคำนึงถึงเพศ อายุ และกิจกรรมของผู้ป่วย ระดับของพลังงานควรจะประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี่/ กิโลกรัม / วัน

ผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ควรให้ 35 กิโลแคลอรี่/ กิโลกรัม / วัน

เราจะรู้ว่าอาหารที่จัดให้ผู้ป่วยนั้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานเพียงพอหรือไม่ ก็โดยดูจากน้ำหนักตัว หากน้ำหนักตัวคงที่ไม่เพิ่ม ไม่ลดก็แสดงว่าอาหารที่ผู้ป่วยได้รับให้พลังงานเพียงพอ

ภาวะโภชนาการในผู้ป่วยไตเรื้อรังเป็นตัวพยากรณ์โรคสำหรับอัตราการตายและการเจ็บป่วยภายใน 1 ปี  ครอบครัว ญาติ และผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจึงต้องตระหนักเสมอถึงการให้การดูแลเอาใจใส่และการจัดอาหารที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดทุพโภชนาการ ปัจจัยหลักที่สำคัญของภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คือ รับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ ทั้งในแง่ของพลังงานและโปรตีน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยไตเรื้อรังมีหลายปัจจัย ได้แก่

  • การได้รับสารอาหารที่ไม่ถูกต้อง หรือได้รับไม่เพียงพอ
  • การมีโรคอื่นๆร่วม(เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลูปัส เป็นต้น)หรือการรับประทานยาทำให้มีผลต่อความอยากอาหารของผู้ป่วย
  • การเจ็บป่วยเฉียบพลัน การติดเชื้อ ความถี่ของการนอนโรงพยาบาล
  • ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ ที่เกิดจากการเจ็บป่วย ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาทางครอบครัว
  • การเปลี่ยนแปลงของสมดุลฮอร์โมน เช่น อินซูลิน(insulin) กลูคากอน(Glucagon)

การประเมินภาวะขาดสารอาหารของผู้ที่เป็นโรคไต        

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ถือว่าขาดสารอาหารคือ ผู้ป่วยที่มี ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) < 18.5กก./เมตร2

เป็นวิธีที่สะดวกตรวจสอบได้ง่าย และใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งสามารถคำนวณโดยใช้สูตร ดังนี้

BMI = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง2 (เมตร)

คำแนะนำด้านโภชนาการ เรื่องการบริโภคอาหารให้ถูกต้องแก่ผู้ป่วยไตเรื้อรังขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความต้องการในสารอาหารต่างกัน การมีโรคอื่น ๆ ร่วม อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักของการให้คำแนะนำที่ต้องคำนึงถึงก็คือ

  1. การให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดี โดยให้รักษาสมดุลของโปรตีนและพลังงานจากอาหาร
  2. อาหารที่ได้รับต้องครบถ้วน และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
  • โปรตีน (Protein) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับโปรตีนต่ำกว่าคนปกติ กล่าวคือ ควรได้โปรตีนที่ 0.6-0.8 กรัม /กิโลกรัม /วันร้อยละ 60-65 ของโปรตีนที่ผู้ป่วยได้รับควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ(High Biological Value : HBV) เนื่องมาจากการศึกษาพบว่าหากมนุษย์เราได้พลังงานเพียงพอกับความต้องการของร่างกายแล้วโปรตีนในขนาดดังกล่าวไม่ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร โดยหวังผลในการลดการคั่งของไนโตรเจนในเลือดและให้มีสารอาหารที่เพียงพอ ที่จะดำรงสภาพของโภชนาการที่ดี
  • พลังงานจากสารอาหาร(Energy from Food) คำแนะนำแก่ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่มีอายุน้อยกว่า 60ปี ควรได้รับพลังงาน 35กิโลแคลอรี่ /กิโลกรัม /วัน และถ้าอายุมากกว่า 60ปี ขึ้นไป ควรได้รับพลังงานที่ 30กิโลแคลอรี่ /กิโลกรัม /วัน
  • ไขมัน (Fat) ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานหรือสาเหตุอื่นๆ จะมีอุบัติการณ์ของไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ และมี HDL- cholesterolต่ำ (ไขมันดี) ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของหลอดเลือดหัวใจสูง โดยพลังงานจากสารอาหารที่ได้รับควรมาจากไขมันไม่ควรเกินร้อยละ 35 ของพลังงานทั้งหมด ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง เป็น polyunsaturated fatty acid ประมาณร้อยละ 10 ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดตำแหน่งเดียว Monounsaturatedfatty acid ร้อยละ 20 ส่วนไขมันอิ่มตัวควรจะได้รับน้อยกว่าร้อยละ 7 ของพลังงานจากอาหารทั้งหมด
  • คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ควรได้จากป้งโมเลกุลเชิงซ้อน (Complex carbohydrate)ประมาณร้อยละ 50 -60 ของพลังงานทั้งหมด เส้นใยอาหารควรได้รับประมาณ 20-30 กรัม/วัน                                 
  • โซเดียม (Sodium) เนื่องจาการรับประทานเกลือหรือโซเดียมมากส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและน้ำในร่างกายเกิน จึงต้องมีการกำหนดปริมาณของโซเดียมที่จะรับประทานให้พอเหมาะ คำแนะนำสำหรับปริมาณโซเดียมที่ควรปริโภค คิดเป็นปริมาณโซเดียม 1,840-2,800 มก./วัน ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงที่ควบคุมลำบาก บวม หรือมีน้ำในช่องท้องและการทำงานของหัวใจไม่ปกติ ควรจำกัดปริมาณโซเดียมให้มากกว่านี้
  • โพแตสเซียม (Potassium) ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังหากมีปัญหาโพแตสเซียมในเลือดสูงควรจำกัดโพแตสเซียมในอาหารประมาณ 39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน เช่น ผู้ป่วยหนัก 60 กิโลกรัม ได้รับโพแตสเซียมต่อวัน ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม/วัน นักกำหนดอาหารมักแนะนำวิธีการลดปริมาณโพแตสเซียมในอาหาร เช่น การนำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มในน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง จะกำจัดโพแตสเซียมออกได้ประมาณ ร้อยละ20-30 อย่างไรก็ตามอาหารจะสูญเสียคุณค่าของวิตามินที่จำเป็นไป
  • ฟอสฟอรัส(Phosphorus) เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะ hyperphosphatemia ที่จะนำไปสู่โรคของต่อมพาราไทรอยด์ชนิดทุติยภูมิ และการทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมลง เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาฟอสเฟตในเลือดเริ่มสูง ควรแนะนำการควบคุมปริมาณของฟอสฟอรัสในอาหาร คือ 17 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือระหว่าง 800-1,000 มิลลิกรัม / วัน
  • แมกนีเซียม (Magnesium) โดยทั่วไปอาหารที่รับประทานตามปกติจะมีปริมาณของแมกนีเซียมอยู่ไม่มาก ซึ่งไม่ทำให้เกิดระดับของแมกนีเซียมสูงเกินไปในเลือด ปกติอาหารที่รับประทานในแต่ละวันจะมีปริมาณแมกนีเซียมไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ยกเว้นผู้ป่วยที่จะได้รับยาระบายกลุ่ม milk of magnesia หรือยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมเป็นส่วนผสม
  • แคลเซียม (calcium) จุดมุ่งหมายหลักของการให้แคลเซียมเสริมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คือ เป็นการเสริมระดับแคลเซียมในเลือดไม่ควรสูงเกิน อย่างไรก็ตามให้พิจารณาว่า หากผู้ป่วยมีโอกาสขาดแคลเซียม สามารถให้เสริมระหว่าง 1,250 –1,500 มิลลิกรัม/ วัน
  • วิตามินและแร่ธาตุ(Vitamin and Minerals) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักจะได้รับวิตามินเหล่านี้น้อย เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับการจำกัดโพแตสเซียมจากผักและผลไม้ ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยทุพโภชนาการ ควรได้รับวิตามินเสริมให้เพียงพอ และให้ตามความต้องการของสารอาหารในคนไทยที่ควรรับในแต่ละวัน อาหารมีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีวิต ขณะเดียวกันก็สำคัญในการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

"ทั้งหมดเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะที่มีใน พรีเดียเวล ตรงตามหลักทางการแพทย์และโภชนาการ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ระยะก่อนบำบัดทดแทนไต"

[ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นมีการดำเนินของโรค(ระยะที่1) จนถึงระยะสุดท้ายที่ผู้ป่วยจะอยู่ได้โดยไม่ต้องการบำบัดทดแทนไต ด้วยการฟอกเลือด , ล้างไตหรือการปลูกถ่ายไต (ระยะที่5)]

พรีเดียเวล สูตรอาหารครบถ้วน ไม่มีน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเท็น เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดผง ชงดื่มง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย

  • ตรงตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยา
  • ตรงตามหลักทางการแพทย์และโภชนาการ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ระยะก่อนบำบัดทดแทนไต มีตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการอย่างชัดเจน สามารถกำหนดปริมาณพลังงาน โปรตีน และปริมาณน้ำได้ตามต้องการ ครอบครัว ญาติ และแม้กระทั่งตัวผู้ป่วยก็สามารถจัดเตรียมอาหารเองได้โดยไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป อีกทั้งผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์  ไม่เกิดภาวะขาดสารอาหาร  ช่วยลดการทำงานของไตซึ่งสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ ผู้ป่วยไม่มีความวิตกกังวล คุณภาพชีวิตดีขึ้น ครอบครัวก็จะมีความสุขได้นานยิ่งขึ้น

 

พรีเดียเวล เครื่องหมายการค้า โปรเวล

เครื่องดื่มผงสูตรทดแทนมื้ออาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

(Pre-Dialysis Patients Formula)

 สูตรอาหารเฉพาะที่มีโปรตีนคุณภาพดี 10% และมีไขมันอิ่มตัวต่ำเพียง 2% โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสต่ำ

ช่วยรักษาสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย พร้อมแร่ธาตุและวิตามินรวม 29 ชนิด

ไต (Kidney)เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาว 12 เซนติเมตร หนัก 120-150 กรัม อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ไตมีความสำคัญต่อร่างกายมาก โดยมีหน้าที่ดังนี้   

  1. ขับถ่ายของเสีย สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
  2. ดูดซึมสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคืนเข้าสู่กระแสเลือด
  3. รักษาความเป็นกรด ด่าง เกลือ และน้ำ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล
  4. สร้างสารอีรีโธปัวอีติน (erythropoietin) ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
  5.  ช่วยเปลี่ยนวิตามินดีให้มีประสิทธิภาพในร่างกาย

อาหารบำบัดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความสำคัญมาก เพราะหากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติเรื่องอาหารได้ถูกต้องก็จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพหรือไตไม่ถูกทำลายมากขึ้นการไปล้างไตก็ไม่จำเป็น โรคไตเป็นโรคที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารที่มีปริมาณสารอาหารมากน้อยเท่าใดนั้น แพทย์เท่านั้นที่จะต้องเป็นผู้กำหนด ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนอาหารตามสภาวะและความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ สารอาหารที่ต้องการควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้แก่ โปรตีน โซเดียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส และน้ำ

โรคไตเรื้อรังระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการ กว่าจะปรากฏอาการ เช่น ซีด เพลีย ก็ต่อเมื่อไตเสื่อมไปมากแล้ว จึงจำเป็นต้องหมั่นตรวจค้นให้พบว่าเป็นโรคไตโดยเร็วที่สุด (ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง ควรตรวจอย่างน้อยทุก 6 เดือน)

การบำบัดโรคไตเรื้อรังด้วยอาหาร ยิ่งเริ่มต้นเร็วตั้งแต่ไตเสื่อมน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งจะได้ผล ช่วยชะลอความเสื่อมของไตไว้ได้ดีเท่านั้น ช่วยให้เข้าสู่ระยะการบำบัดทดแทนไต (ฟอกเลือดหรือล้างไต)ช้าลง มีหวังที่จะมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพและสุขภาพที่ดี

พรีเดียเวล อาหารสูตรครบถ้วนที่มีโปรตีนต่ำ เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดผง ชงละลายง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย สามารถกำหนดปริมาณพลังงาน และปริมาณน้ำได้ตามต้องการ มีคุณค่าทางโภชนาการชัดเจน และมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ตรงตามหลักทางการแพทย์และโภชนาการ สูตรเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต ประกอบด้วย


คุณสมบัติ

  • มีสารอาหารครบทั้ง 5หมู่ สามารถดื่มทดแทนมื้ออาหารได้ มีวิตามิน 14ชนิด เกลือแร่ 15ชนิดในอัตราส่วนสมดุล
  • โปรตีนต่ำ เพียง 10%: ปริมาณต่ำ แต่ให้พลังงานเพียงพอเพื่อลดการทำงานของไต ร่างกายดูดซึมได้เร็ว และลดของเสียที่คั่งค้างในร่างกาย(ไนโตรเจน) 
  • ปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสต่ำ สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันสภาวะการบวมและความดันโลหิตสูง
  • ไขมันอิ่มตัวต่ำ โดยมีกรดไขมันจำเป็นครบทั้ง โอเมก้า 3-6-9 เสริมด้วยน้ำมันอิ่มตัวสายปานกลาง (MCT) และ แพล้นท์สเตอรอลเพื่อลดภาวะไขมันในเลือดสูง
  • เสริมโอเมก้า 3 สูง ประกอบด้วย EPA และ DHA ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์  บำบัดไต ลดการอักเสบ ลดปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระยะสุดท้าย
  • มีไฟเบอร์ และแคลเซี่ยมจากนมสูง จะช่วยป้องกันเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะกระดูกพรุน  ไขมันไนเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ เพิ่มกากใย ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
  • มีวิตามินD  อาร์จินีน ทอรีน โคลีน และอิโนซิทอล
  • วิตามิน A, C, E และ เซลีเนียม (Se): เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ ลดความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะ เซลเบต้าในตับอ่อน ปกป้องเซลประสาทจากการบาดเจ็บ  เป็นส่วนสำคัญในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย เพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • ให้พลังงาน 360 กิโลแคลอรี / 200 มิลลิลิตร  
  • รสข้าวโพด อร่อย ไม่เติมน้ำตาล ไม่มีแลคโตส ไม่มีกลูเต้นท์ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ (Allergy)
  • ขึ้นทะเบียนบัญชีสินค้านวัตกรรมไทย เลขที่ 14000015 มค.2561 

 


พรีเดียเวล ให้พลังงานเพียงพอกับความต้องการของร่างกายทำให้น้ำหนักตัวคงที่ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ร่างกายใช้โปรตีนปริมาณน้อยได้อย่างคุ้มค่า ช่วยซ่อมและเสริมสร้างร่างกายให้มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ได้ดี ก็จะช่วยไตให้ทำงานลดลง ชะลอการถูกทำลายของเนื้อไตได้

พรีเดียเวลไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เพราะการบริโภคน้ำตาลมีผลต่อการสร้างไตรกลีเซอไรด์ในตับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและมีผลเพิ่มไขมันชนิดไม่ดี(LDL) และลดไขมันชนิดดี(HDL) ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะไตเลื่อมมากขึ้น  

พรีเดียเวลไม่มีแลคโตส และไม่มีกลูเท็น เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวหรือแพ้โปรตีนจากแป้งสาลี

 

พรีเดียเวล คัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ดังนี้

โปรตีน (Protein)ิ คัดสรรแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและย่อยง่ายโดยมีการเข้มข้นของโปรตีน ไม่น้อยกว่า 90% ในภาวะไตวายเรื้อรังร่างกายจำเป็นต้องใช้โปรตีนและกรดอะมิโนปริมาณน้อยอย่างคุ้มค่า สามารถดูดซึมได้เร็วตอบสนองความต้องการของร่างกายได้ทันที เพื่อลดการคั่งของไนโตรเจนในเลือด และให้มีสารอาหารเพียงพอ ได้แก่

  • เวย์โปรตีนเดี่ยว(Whey Protein Isolated) จะมีกรดอะมิโนที่จำเป็น 8ชนิด ที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้และพบในอัตราที่สูง เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีปริมาณ 48%ของแหล่งโปรตีนทั้งหมด
  • เคซีน(Casein) โปรตีนจากนม มีกรดอะมิโน เมไธโอนีน วาลีน โพรลีน ไทโรซีน และกลูตามิกสูง  มีปริมาณ 33% ของแหล่งโปรตีนทั้งหมด
  • ซอยโปรตีนไอโซเลต (Isolated Soy Protein) โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง มี เฟนิลอะลานีน  ฮีสทีดีน  อาร์จีนีน แอสพาติก และไกลซีนสูง มีปริมาณ 19% ของแหล่งโปรตีนทั้งหมด

โปรตีนทั้ง 3 แหล่งรวมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ได้กรดอะมิโนครบถ้วน 18 ชนิดในอัตราส่วนที่สูง โดยเฉพาะไทโรซีน***เป็นกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับโรคไตเรื้อรัง เพราะเป็นกรดอะมิโนต้นกำเนิดไธรอยด์ฮอร์โมน กรดอะมิโนจำเป็น(คิดเป็น 40%ของกรดอะมิโนทั้งหมด) ที่ร่างกายต้องการ และไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องได้เพิ่มจากอาหารเท่านั้น

        1 แก้ว (200 มล.) 80 กรัม /4 ช้อนตวง /1 ซอง มีโปรตีน 10.02 กรัม  คิดเป็น 9%ของพลังงานทั้งหมด

สารอาหาร

ต่อผง    100 กรัม

ปริมาณอาหารที่ผสมน้ำแล้ว   (1 แก้ว:200cc)         80กรัม/4 ช้อนตวง

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน (มก./วัน)

** %เปรียบเทียบกับปริมาณที่แนะนำต่อวัน

****วาลีน , กรัม

0.51

0.41

500

82

****ลิวซีน  , กรัม

0.86

0.69

700

99

****ไอโซลิวซีน , กรัม

0.50

0.40

500

80

****ทรีโอนีน , กรัม

0.48

 0.38

350

109

****ทริปโตเฟน , กรัม

0.13

0.10

***

***

****เมไธโอนีน , กรัม

0.19

0.15

650

23

****เฟนิลอะลานีน , กรัม

0.41

0.33

700

47

****ไลซีน , กรัม

0.69

0.55

600

92

อาร์จีนีน , กรัม

0.37

0.30

1000

30

ฮีสทีดีน , กรัม

0.28

0.22

***

***

โพรลีน , กรัม

0.72

0.57

***

***

เซอรีน , กรัม

0.47

0.38

***

***

ไทโรซีน , กรัม***                       (จำเป็นสำหรับโรคไตเรื้อรัง)

0.37

0.30

***

***

อะลานีน

0.36

0.29

***

***

แอสพาติค , กรัม

0.85

0.68

***

***

กลูตามิก , กรัม

1.73

1.38

***

***

ไกลซีน , กรัม

0.22

0.18

***

***

ซิทีน , กรัม

0.14

 0.12

650

18

 * ปริมาณที่แนะนำต่อวัน ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารละยา โดยสมมุติน้ำหนักตัวที่ 60 กิโลกรัม

** ร้อยละของสารอาหารพรีเดียเวลเปรียบเทียบกับสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยา

*** คณะกรรมการอาหารและยาไม่ได้กำหนด

**** กรดอะมิโนจำเป็น

พรีเดียเวล ได้เสริมกรดอะมิโนเดี่ยวเพิ่มให้อีก เพราะการเสริมกรดอะมิโนมีความสำคัญ และจำเป็นต่อผู้เป็นโรคไตเรื้อรังอย่างมาก เนื่องจากจำกัดปริมาณโปรตีนที่รับประทาน เพื่อลดการทำงานของไต ส่งผลให้กรดอะมิโนที่มีในโปรตีนลดลงด้วย การเสริมกรดอะมิโน (Amino Acid Mixture) จึงช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังได้รับกรดอะมิโนครบถ้วนโดยเฉพาะกรดอะมิโนจำเป็น อีกทั้งการดูดซึมและการนำไปใช้ประโยชน์ในกรดอะมิโนเดี่ยวก็มีประสิทธิภาพสูงกว่าด้วย ได้แก่ ทอรีน, แอล-คาร์นิทีน และแอลอาร์จินีน

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ กลุ่มแป้งและน้ำตาล ร่างกายจะใช้เป็นพลังงานอย่างเดียว ในภาวะไตวายเรื้อรัง ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย หรือภาวะยูรีเมีย อาจเกิดภาวะดื้อต่อยาฉีดอินซูลินได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย

พรีเดียเวล จึงคัดสรรแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนโดยไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ดังนี้                            

  • มอลโตเด็กติน (Maltodextrin) เป็นแป้งที่ผ่านขบวนการดัดแปลง (Modified Starch) มีการย่อยสลายช้ากว่าน้ำตาล
  • ซูคาร์โลส (Sucralose) สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน มีรสชาติเหมือนน้ำตาล มีความหวานประมาณ 600 เท่าของน้ำตาล ไม่มีรสขมติดลิ้น มีความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ได้กับทุกๆคน รวมทั้งสตรีมีครรภ์ แม่ที่ให้นมลูก ตลอดจนเด็กทั่วไป
  • ใยอาหารสูง 7% ทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ที่ไม่ให้พลังงาน ประกอบด้วย
  1. อินนูลิน (Inulin) ไม่ถูกย่อยโดยเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหาร มีผลดีต่อสุขภาพ คือ จะผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่ในสภาพที่สมบูรณ์จึงไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ที่สำคัญเป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) ถือว่าเป็นเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ช่วยเพิ่มกากในระบบทางเดินอาหาร ลดคอเลสเตอรอล และป้องกันมะเร็งในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม โดยแคลเซียมที่ดูดซึมได้นั้นยังเข้าสู่กระดูกซึ่งเป็นบริเวณที่ต้องการแคลเซียมโดยตรง ขณะที่แคลเซียมส่วนเกินซึ่งมากกว่า 70% จะถูกขับออกมาจากร่างกายป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ดี
  2. ใยถั่วเหลือง(Soy Fiber) เป็นเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ช่วยทำให้อุจจาระนิ่ม ป้องกันท้องผูก

พรีเดียเว มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Glycemic Index : GI) จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นผลดีต่อตับอ่อน กล่าวคือ ไม่ต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินในปริมาณมาก และอินซูลินที่ผลิตสามารถทำงานได้ย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับช่วยป้องกันตับอ่อนไม่ต้องทำงานหนัก ทั้งยังทำให้อินซูลินจับกับเซลล์ได้ดีขึ้นด้วยทำให้การใช้กลูโคสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้การเผาผลาญกลูโคสเป็นไปด้วยดี

       1 แก้ว (200 มล.) 80 กรัม /4 ช้อนตวง /1 ซองมีคาร์โบไฮเดรต 67.26กรัม คิดเป็น 60% ของพลังงานทั้งหมด

ไขมัน (FAT) ไขมันจำเป็นเพราะเป็นส่วนประกอบหลักของผนังเซลล์ ฮอร์โมน และสมอง แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมักมีภาวะไขมันในเลือดสูงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จำเป็นต้องจำกัดปริมาณไขมันอิ่มตัว พรีเดียเวลมีไขมันอิ่มตัวเพียง2% โดยมีไขมันจำเป็นครบถ้วนทั้ง            โอเมก้า3 โอเมก้า6 และโอเมก้า9 ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อลดภาวะไขมันทั้งไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง นอกจากนี้ไขมันยังช่วยในการละลายและดูดซึมของวิตามินหลายชนิด เช่น เอ ดี อี เค เบต้าแคโรทีน พรีเดียเวลคัดสรรแหล่งไขมันที่ดี ดังนี้

  • มีเดียมเชนไตรกลีเซอไรด์(MCT) เป็นไตรกลีเซอไรด์ สายปานกลางมีโมเลกุลเล็กจึงดูดซึมได้ง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย เกิดการเผาผลาญอย่างรวดเร็ว จึงไม่ต้องกังวลในเรื่องของการสะสมของไขมันอิ่มตัว เพราะMCTถูกปล่อยออกมาเป็นพลังงานทั้งหมด
  • แพล้นท์สเตอรอล(plant sterol) เป็นไขมันสกัดได้จากพืช ช่วยลดโคเลสเตอรอล ชนิด LDL(ไขมันไม่ดี) ได้ถึง 20% จึงลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ปลอดภัยไม่ออกฤทธิ์ต่อตับ
  • น้ำมันคาโนล่า มีโอเมก้า9 สูง ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ตำแหน่งเดียว(MUFA) มีผลในการลดคอเลสเตอรอล และLDL(ไขมันชนิดไม่ดี) แต่ไม่ลด HDL(ไขมันชนิดดี) พรีเดียเวลมีโอเมก้า9 คิดเป็น 10%ของไขมันทั้งหมด  
  • น้ำมันดอกทานตะวัน มีโอเมก้า3 และโอเมก้า6 สูง เป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง(PUFA) ช่วยลดคอเลสเตอรอล และ LDL(ไขมันชนิดไม่ดี) มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง คิดเป็น 8%ของไขมันทั้งหมด
  • โอเมก้า 3 พรีเดียเวลได้เติมโอเมก้า3 (สกัดจากปลาทะเล) อีก20%ของไขมันทั้งหมด เป็นกรดไขมันจำเป็น มี EPA ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจโดยตรง ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ดีขึ้นและลดการติดเชื้อในร่างกาย และมี DHA สารที่สำคัญต่อการทำงานและการพัฒนาการของสมองและจอตา อัตราส่วนของโอเมก้า6 ต่อโอเมก้า 3 ในสารอาหารพรีเดียเวล เท่ากับ 5 ต่อ 1 จึงเป็นอัตราส่วนที่สมดุล (Balanced Proportion) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพของร่างกาย

        1 แก้ว (200 มล.) 80 กรัม /4 ช้อนตวง /1 ซองมีไขมัน 15.33  กรัม  คิดเป็น 31%  ของพลังงานทั้งหมด

สารอาหารเสริมสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต

เนื่องด้วยสภาวะของโรคไตเรื้อรัง ทำให้ต้องจำกัดปริมาณโปรตีนที่รับประทานส่งผลให้มีโอกาสขาดกรดอะมิโนทั้งชนิดที่จำเป็นและไม่จำเป็น การเสริมกรดอะมิโนจึงมีความจำเป็นเพราะสำคัญอย่างยิ่งและด้วยสภาวะการเสื่อมของไต มักทำให้ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากแคลเซียมในอาหารถูกดูดซึมได้น้อยลง ในขณะที่ฟอสฟอรัสในเลือดสูง เนื่องจากไตขับถ่ายได้น้อยลง ก่อให้เกิดผลเสียหลายประการเช่น กระดูกพรุน และมีผลต่อต่อมพาราไธรอยด์ ทั้งยังมีผลให้ไตเสื่อมมากขึ้นอีกด้วย

พรีเดียเวล จึงคัดสรรสารอาหารเสริมเพื่อช่วยชะลอการถูกทำลายของเนื้อไตและช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลของสารอาหาร ปรับสมดุลของน้ำ อีเลคโทรไลท์ และ กรดด่างในเลือดให้เป็นปกติ ชะลอความเสื่อมของไต ดังนี้

  • อาร์จีนีนและทอรีน ช่วยขยายหลอดเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • โคลินและอินโนซิทอล  ออกฤทธิ์เป็นสารไลโปโทรปิค (Lipotropic) ป้องกันการสะสมของไขมันและช่วยนำไขมันและโคเลสเตอรอลไปใช้
  • วิตามินซี อี เอ และซิลิเนียม เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะเบต้าเซลล์ในตับอ่อน และช่วยต้านการบาดเจ็บของเซลล์ประสาท ดังนั้นหากผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีอาการเบาหวานร่วมด้วยก็จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ดียิ่งขึ้น
  • วิตามินดี เมื่อเป็นไตเรื้อรังระยะรุนแรงไตไม่อาจสังเคราะห์วิตามินดี 3 ได้หรือได้ไม่เพียงพอจึงต้องให้เสริมในรูปวิตามินดี 3 ถ้าขาดจะมีผลเสียต่อกระดูก
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใช้แร่ธาตุนมจากธรรมชาติ (Milk Calcium Complex) จึงมีอัตราส่วนของแคลเซียม ต่อ ฟอสฟอรัสสมดุลโดยธรรมชาติ เท่ากับ 2 ต่อ1 ร่างกายจึงสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีประสิทธิภาพสูง
  • แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างของกระดูก โรคไตเรื้อรังระยะรุนแรงมีผลกระทบต่อการดูดซึม การขับถ่ายของเกลือแร่ทั้งสองและการสังเคราะห์วิตามินดี ดังนั้น การรับประทานพรีเดียเวล จะได้รับสารเสริมทั้ง 3 ครบถ้วน และเหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและผลเสียที่อาจเกิดต่อต่อมพาราไธรอยด์
  • โอเมก้า 3 มีทั้ง EPA และ DHA ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี รวมทั้งลดการอักเสบของไต และยังพบว่าโอเมก้า 3 ยังสามารถลดปริมาณของไข่ขาวในปัสสาวะของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง และมีแนวโน้มที่จะชะลอการเกิดโรคไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้ายลงได้  

พรีเดียเวล เป็นอาหารสำเร็จรูป รับประทานง่าย ชงละลายพร้อมดื่ม สะดวก ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการชัดเจน โปรตีนต่ำ ในสัดส่วนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยมีการกระจายตัวของพลังงานจากโปรตีน 9%  คาร์โบไฮเดรต 60% และไขมัน 31% เหมาะกับความต้องการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต ดังตารางต่อไปนี้

สารอาหาร

ต่อผง     100 กรัม

ต่อ 1แก้ว (200 cc.)                ของปริมาณอาหารที่ผสมน้ำแล้ว

% เปรียบเทียบตามประกาศ

**ปริมาณที่แนะนำตาม Thai RDI

พลังงาน, กิโลแคลอรี่

447.09

357.67

***

***

โปรตีน, กรัม

10.02

8.02

16.00%

50

คาร์โบไฮเดรต, กรัม

67.26

53.81

18.00%

300

น้ำตาลทั้งหมด, กรัม

4.40

3.52

***

***

ไขมัน, กรัม

15.33

12.26

19.00%

65

กรดไขมันอิ่มตัว, มก.

2160.00

1728

9.00%

20

กรดไขมันโอเลอิก, มก

5331.70

4265.36

***

***

กรดไขมันไลโนลีอิก,,มก

4945.40

3956.32

***

***

กรดไขมันไลโนลีนิก,,มก

800.50

640.40

***

***

E.P.A., มก.

167.88

134.30

***

***

D.H.A., มก.

108.67

86.94

***

***

ใยอาหาร, กรัม

6.63

5.30

21.22%

25

วิตามิน เอ, มคก.อาร์อี

1360.00

1088.00

136.00%

800

วิตามิน ดี, มคก.

3.85

3.08

61.60%

5

วิตามินอี, มก. แอลฟาร์ ทีอี

17.29

13.83

138.32%

10

วิตามิน ซี, มก.

139.62

111.70

186.16%

60

วิตามิน เค, มคก.

20.53

16.42

20.53%

80

วิตามิน บี1, มก.

1.43

1.14

76.27%

1.5

วิตามิน บี2, มก.

2.98

2.38

140.24%

1.7

วิตามิน บี6, มก.

1.48

1.18

59.20%

2

วิตามิน บี12, มคก.

4.83

3.86

193.00%

2

กรดแพนโทธินิค, มก.

9.22

7.38

122.93%

6

ไนอาซิน, มก.

17.55

14.04

70.20%

20

กรดโฟลิก, มคก.

50.00

40.00

20.00%

200

ไบโอติน, มคก.

64.0

51.20

34.13%

150

โคลิน, มก.

292.87

234.30

42.60%

550

อินโนซิทอล, มก.

150.00

120.00

80.00%

150

คาร์นีทีน, มก.

29.62

23.70

4.74%

500

ทอรีน, มก.

238.81

191.05

12.33%

1550

แคลเซียม, มก.

303.80

243.04

30.38%

800

โซเดียม, มก.

377.31

301.85

12.58%

2400

โปแตสเซียม, มก.

404.60

323.68

9.25%

3500

คลอไรด์, มก.

496.40

397.12

11.68%

3400

เหล็ก, มก.

19.33

15.46

103.07%

15

สังกะสี, มก.

3.30

2.64

17.58%

15

ทองแดง, มก.

0.46

0.36

18.24%

2

ฟอสฟอรัส, มก.

100.00

80.00

10.00%

800

แมกนีเซียม, มก

44.00

35.20

10.06%

350

แมงกานีส, มก.

0.48

0.38

10.97%

3.5

ไอโอดีน, มคก.

138.00

110.40

73.60%

150

โครเมียม, มคก

94.65

75.72

58.25%

130

ซิลิเนียม, มคก.

23.20

18.56

26.51%

70

โมลิบดินัม, มคก.

102.17

81.74

51.09%

160

การกระจายตัวของพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน = 60 : 9 : 31

* ร้อยละของสารอาหารเปรียบเทียบกับสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO)

**องค์การอนามัยโลกไม่ได้กำหนด (WHO)

 

วิธีการรับประทาน พรีเดียเวล สูตรอาหารครบถ้วนที่มีโปรตีนต่ำ มีใยอาหารและแคลเซียมจากธรรมชาติสูง

สูตรเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแบบกระป๋องบรรจุ 480 กรัม

ความเข้มข้นของพลังงานต่อปริมาณอาหาร (kcal : ml)

        ปริมาณพรีเดียเวล           (ช้อนตวง/กรัม)

ปริมาณ*น้ำร้อน (ml)

ปริมาณพรีเดียเวล   พร้อมดื่ม (ml)

ปริมาณพลังงาน    (kcal)

0.9: 1

2 ชต./ 40กรัม

180

200

180

1.35 : 1***

3 ชต./ 60กรัม

160

200

270

1.8 : 1

4 ชต./ 80กรัม

140

200

360

3.6 : 1

8 ชต./160 กรัม

120

200

720

ามารถผสมเป็นเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นได้ตามรสชาติที่ชอบและสามารถปรับความเข้มข้นของพลังงานและปริมาณน้ำ * ได้ตามความต้องการของร่างกาย

1 ช้อนตวง = 20 กรัม ผสมน้ำร้อน 35 มิลลิลิตรให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่

4 ช้อนตวง = 80 กรัม ผสมน้ำร้อน 140 มิลลิลิตร ให้พลังงาน 360 กิโลแคลอรี่

 วิธีชงเครื่องดื่มร้อน  เติมน้ำร้อนปริมาณตามความเข้มข้นที่ต้องการ(ดูจากตาราง)ลงในพรีเดียเวลที่เตรียมไว้ คนหรือเขย่าจนละลายเข้ากันดี (ประมาณ 2-3 นาที) จะได้สารอาหารพรีเดียเวล 200 มิลลิลิตรให้พลังงานตามตารางการผสมอาหาร

*กรณีให้ทางสายให้อาหาร ควรตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น ก่อนให้ทางสายให้อาหาร

วิธีชงเครื่องดื่มเย็นและปั่น เติมน้ำร้อน (ประมาณ 70 องศาเซลเซียล) ประมาณ ½ แก้ว** (70 มล.) ลงในพรีเดียเวลที่เตรียมไว้***   คนหรือเขย่าจนละลายเข้ากันดี (ประมาณ 2-3 นาที) เติมน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดและผลไม้สดเพื่อเพิ่มความสดชื่นและรสชาติตามความชอบ 

 ถ้าจะดื่มเป็นเครื่องดื่มปั่นให้เทส่วนผสมพรีเดียเวล ผลไม้สด และน้ำแข็งที่เตรียมไว้ลงในเครื่องปั่น  ปั่นพอให้น้ำแข็งก้อนกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง จะได้เครื่องดื่มปั่นรสชาติตามที่คุณชอบ

** ที่ความเข้มข้น 1.8 กิโลแคลอรี่ ต่อ มิลลิลิตร ตักพรีเดียเวล 4ช้อนตวง (80 กรัม) เติมน้ำร้อนเพียง ½ แก้ว (70 มล.)

*สำหรับความเข้มข้นอื่น ๆ ให้ลดปริมาณน้ำร้อนลง  ½ จากตารางการผสมอาหาร จะทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้น

อาหารที่ผสมแล้วควรรับประทานทันทีหากไม่รับประทานทันทีควรเทใส่ภาชนะที่สะอาดแล้วปิดฝาเก็บไว้ในตู้เย็น(อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล)

นำมาอุ่นก่อนรับประทานและไม่ควรเก็บไว้เกิน 24 ชั่วโมง

ในกรณีที่ต้องการปรับเพิ่มและความเข้มข้นที่แตกต่างจากในตารางการผสม สามารถปรับปริมาณพรีเดียเวลได้โดย 1 ช้อนตวงมีผงพรีเดียเวล 20 กรัม ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่ 

ดังนั้นสามารถเพิ่มปริมาณพรีเดียเวลได้มากกว่า 1 ซอง หรือเพิ่มจำนวนช้อนตวงตามปริมาณที่ต้องการ และผสมน้ำตามอัตราส่วนในตารางการผสมอาหารให้ได้ปริมาณพลังงานตามที่กำหนด

เปรียบเทียบการรับประทานอาหารปกติกับอาหารสำเร็จรูป    

อาหารปกติ 1 มื้อ พลังงาน 300-700 kcal

                                   พรีเดียเวล 1แก้ว / 1มื้อ                                          ให้พลังงาน 360 กิโลแคลอรี

ประกอบด้วย:  โปรตีนคุณภาพดี 10% ใยอาหารสูง 7% ไขมันอิ่มตัวต่ำ 2% แคลเซียมจากธรรมชาติสูง เกลือแร่ วิตามิน 29 ชนิด และมีกรดไขมันจำเป็นครบทั้งโอเมก้า 3 , 6 และ9

ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ได้รับโปรตีนและแร่ธาตุ (โซเดียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส) สูงเกินหรือน้อยเกินทำให้ไตทำงานหนัก ความเสื่อมของไตเร็วขึ้น จนเสี่ยงต่อภาวะไตวายรุนแรงจนต้องบำบัดด้วยการล้างไต อัตราเสียชีวิตสูง ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่รับประทาน  คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ ขบวนการปรุงอาหาร  สภาวะของร่างกายและความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหาร  สิ่งแวดล้อม

ให้สารอาหารครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

  • มีโปรตีนต่ำ แต่ให้พลังงานอย่างพอเพียง 
  • มีกรดอะมิโนครบถ้วน 20 ชนิด
  • โซเดียมต่ำเพียง  300 มก. และโพแทสเซียมเพียง 320 มก.
  • โอเมก้า3 640 มก. ลดการอักเสบของไต ลดไข่ขาวในปัสสาวะ
  • สะดวก รสชาติอร่อย ปลอดภัย      
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ A, E, C, Se  จำเป็นต่อผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน  

อาหารบำบัดสำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรังมีความสำคัญมาก เพราะหากผู้ที่ป่วยสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ถูกต้องก็จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ ช่วยชะลอความเสื่อมของไตและความรุนแรงของโรคไตได้ ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งชะลอไตเสื่อมได้นานที่สุดเท่านั้น

การรับประทานอาหารของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จะต้องจำกัดปริมาณโปรตีน โซเดียม โพแตสเซียม ฟอสฟอรัส และยังมีความต้องการแคลเซียมปริมาณสูง รวมถึงวิตามินดี เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยยังต้องได้พลังงานจากสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นโดยส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไตเสื่อมสมรรถภาพมากขึ้น จนอาจถึงภาวะไตวายรุนแรงจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ สุดท้ายก็ต้องบำบัดทดแทนไตเท่านั้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายสูงมาก

พรีเดียเวล เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไตมี

  •        โปรตีนเพียง 10% และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง
  •        มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  •        มีกรดไขมันจำเป็นครบถ้วนทั้งโอเมก้า3, 6 และ9 เพื่อลดภาวะไขมันในเลือดสูง
  •        เสริมด้วยใยอาหารและแคลเซียมสูง เพื่อป้องกันโรคกระดุกพรุน   ชงง่าย รสชาติอร่อย สะดวก ปลอดภัย ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอาหารและยา ตรงกับหลักทางการแพทย์และโภชนาการ พลังงานที่ได้รับจากสารอาหารหลักทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน มีอัตราส่วนที่สมดุลตามความต้องการของร่างกาย จึงหมดกังวลในเรื่อง ภาวะทุพโภชนาการ

พรีเดียเวล เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมปริมาณโปรตีน แร่ธาตุ และพลังงานได้ง่าย สะดวกในการรับประทาน  ชงดื่มง่าย รสชาติอร่อย ทำให้ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังและครอบครัวมั่นใจในการดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารการกิน ขณะเดียวกันก็สำคัญในการชะลอความเสื่อมของไต เป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต อันเป็นระยะเวลาที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากอีกทั้งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน อันเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ง่าย

ขนาดบรรจุ: 480กรัม/กระป๋อง (6 มื้อ)

ข้อควรระวัง: ไม่เหมาะแก่ผู้แพ้โปรตีนจากนม ปลา ถั่วเหลือง

ติดต่อศูนย์โภชนโปรเวล 085-0597478 หรือ ไลน์ : @prowell_nutritions

 

 เพิ่มคุณภาพชีวิต  พิชิตไตเสื่อม

 

 

 

Visitors: 273,264